รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาการปวดหัวเข่า เช็คสักนิดก่อนสายเกินแก้

รวมเรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับอาการปวดหัวเข่า เช็คก่อนสาย

แชร์ได้เลยค่ะ

“เข่า” เป็นนับเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุด และเป็นอวัยวะ ที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่ในการรับน้ำหนักทั้งหมด ของร่างกายมนุษย์ โดยข้อเข่าประกอบขึ้น จากกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกต้นขา (Femur)กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และ กระดูกสะบ้า (Patella) เมื่อเกิดอาการปวดหัวเข่าขึ้นมา นั่นหมายความว่า บริเวณข้อต่อ ที่เชื่อมระหว่างกระดูกต้นขา และ กระดูกหน้าแข้งของเรามีปัญหา โดยอาการปวดหัวเข่า ที่พบได้บ่อย เช่น ปวดหัวเข่าขณะนั่งพับเพียบ หรือ ขัดสมาธิเป็นเวลานาน ปวดหัวเข่าจากการเดินเป็นระยะเวลานาน หรือปวดหัวเข่าจากการวิ่งออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งอาการปวดหัวเข่าที่กล่าวมานี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการปวดหัวเข่า หรือ เจ็บเข่าขณะขึ้น – ลงบันได เข่าบวม มีเสียงในเข่า ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ถือว่าเป็นสัญญาณเตือน ความผิดปกติของหัวเข่า จำเป็นต้องทำการพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาในแนวทางที่เหมาะสม ต่อไปในอนาคต

ปวดหัวเข่าอย่าปล่อยไว้นาน เพราะอาจกลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้

รู้ให้ชัด! สาเหตุของการปวดหัวเข่า

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า เข่าของเรา ประกอบไปด้วย กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกสะบ้า (Patella) โดยปกติแล้วกระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้ มีกระดูกอ่อนหุ้มไว้อยู่ ซึ่งเรียกว่า “กระดูกอ่อนผิวข้อ” (Articular cartilage) มีลักษณะสีขาวใส เรียบ และลื่น มีหน้าที่ลดการเสียดสี ขณะเราเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึง รองรับแรงกระแทกภายในข้อเข่า ไม่ให้รู้สึกเจ็บเข่า แต่ถ้ากระดูกอ่อนผิวข้อ มีปัญหา หรือ เกิดการอักเสบขึ้นมา เมื่อนั้นเราจะรู้สึกปวดหัวเข่า หรือ เจ็บเข่านั่นเอง

ปวดหัวเข่าแบบไหน ต้องรีบไปพบแพทย์

ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า แบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์

เราเชื่อว่า เมื่อเกิดอาการปวดหัวเข่าขึ้นมาแล้ว หลายคนก็จะกังวลว่า อาการปวดของตนเอง ถึงขั้นต้องไปพบแพทย์หรือยัง? ซึ่งก่อนอื่นเราขอแบ่ง ลักษณะการปวดหัวเข่า ออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. ปวดรอบหัวเข่าและหน้าขา โดยส่วนใหญ่แล้ว มักมีต้นเหตุมาจาก การปวดหลังก่อน แล้วค่อยปวดลงมาที่หัวเข่า ทำให้รู้สึกงอเข่า หรือ เดินลำบาก สามารถรักษาให้หายเองได้ ทั้งอาการปวดหลัง และปวดเข่า เช่น รับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า ทำกายภาพบำบัด ทายาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เป็นต้น

2. ปวดบริเวณข้อเข่า เป็นการปวดจากด้านในของข้อเข่า หากเป็นมากก็จะเกิด อาการบวม ไข้ขึ้น เดินไม่ได้ รู้สึกชาที่หัวเข่า หรือรูปร่างของเข่ามีความผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคเกี่ยวกับเข่า ได้หลากหลายโรค เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าอักเสบ โรคเก๊าท์ เป็นต้น

โดยเราสามารถ สังเกตอาการปวดเข่า เบื้องต้นของตัวเองได้ ก่อนทำการพบแพทย์ แล้วปวดหัวเข่าแบบไหนล่ะ ที่ต้องรีบไปพบแพทย์ได้แล้ว?

ปวดหัวเข่าแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์
1. ปวดหัวเข่าตลอดเวลาแม้ไม่ได้ขยับร่างกาย
2. ปวดหัวเข่าหรือข้อเข่าทุกครั้งเวลาขึ้น – ลงบันได หรือก้าวขึ้น - ลงจากรถ
3. เจ็บหรือปวดหัวเข่าทุกครั้งที่ก้าวขาเดินและลงน้ำหนักที่ขา
4. เดินแล้วรู้สึกเจ็บแปล๊บหรือเสียวข้อเข่ามาก
5. ลุกและยืนขึ้นเองไม่ได้ ต้องหาที่เกาะเพื่อพยุงตัวหรือต้องให้คนอื่นช่วย
6. ปวดหัวเข่าจนนอนไม่หลับ ต้องตื่นมากลางดึก หรือต้องรับประทานยาแก้ปวดตลอด
7. ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น อาบน้ำ นั่งถ่ายอุจจาระ นั่งยองๆ 
8. มีอาการปวดหัวเข่า บวม แดง แสบ ร้อน มีไข้ขึ้นสูง
9. ไม่สามารถเหยียดขาตรงหรืองอเข่าได้
10. ปวดหัวเข่าหรือปวดขาเฉพาะตอนกลางคืนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
11. มีอาการชาหรืออ่อนแรงขณะเดิน
12. กล้ามเนื้อต้นขาลีบ
13. เท้าเปลี่ยนสีขณะเดินติดต่อกันนานๆ
14. มีเสียงดังในข้อเข่าทุกครั้งที่เปลี่ยนอิริยาบถ
15. รับประทานยาแก้ปวดหรือทายาเพื่อบรรเทาแต่อาการไม่ดีขึ้น

1. ปวดหัวเข่าตลอดเวลา แม้ไม่ได้ขยับร่างกาย
2. ปวดหัวเข่า หรือ ข้อเข่าทุกครั้ง เวลาขึ้น – ลงบันได หรือก้าวขึ้น – ลงจากรถ
3. เจ็บ หรือ ปวดหัวเข่าทุกครั้ง ที่ก้าวขาเดิน และ ลงน้ำหนักที่ขา
4. เดินแล้วรู้สึกเจ็บแปล๊บ หรือ เสียวข้อเข่ามาก
5. ลุก และ ยืนขึ้นเองไม่ได้ ต้องหาที่เกาะ เพื่อพยุงตัว หรือ ต้องให้คนอื่นช่วย
6. ปวดหัวเข่า จนนอนไม่หลับ ต้องตื่นมากลางดึก หรือ ต้องรับประทานยาแก้ปวดตลอด
7. ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น อาบน้ำ นั่งถ่ายอุจจาระ นั่งยองๆ
8. มีอาการปวดหัวเข่า บวม แดง แสบ ร้อน มีไข้ขึ้นสูง
9. ไม่สามารถเหยียดขาตรง หรือ งอเข่าได้
10. ปวดหัวเข่า หรือ ปวดขา เฉพาะตอนกลางคืน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
11. มีอาการชา หรือ อ่อนแรงขณะเดิน
12. กล้ามเนื้อต้นขาลีบ
13. เท้าเปลี่ยนสีขณะเดิน ติดต่อกันนานๆ
14. มีเสียงดังในข้อเข่า ทุกครั้งที่เปลี่ยนอิริยาบถ
15. รับประทานยาแก้ปวด หรือ ทายา เพื่อบรรเทา แต่อาการไม่ดีขึ้น

ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า สังเกตเป็น บอกโรคได้

ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า บอกโรคอะไรได้บ้าง?

1. ปวดหัวเข่าเนื่องจากข้อเคล็ดหรือข้อแพลง (Sprain) เกิดจากเส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อ ที่ยึดรอบข้อต่อผิดรูป หรือ ฉีกขาด เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย จากการวิ่ง ออกกำลังกาย ถูกกระแทกแรงๆ ลงน้ำหนักขาผิดจังหวะ หรือยกของหนัก เป็นต้น เมื่อข้อเคล็ดแล้ว จะรู้สึกเจ็บปวดทันที บางคนอาจมีอาการบวม แดง หรือร้อนบริเวณข้อเข่าได้

2. ปวดหัวเข่าเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีก (Strain) เกิดจากเส้นใยมัดกล้ามเนื้อ เกิดการบาดเจ็บ หรือ ฉีกขาด เนื่องจากถูกใช้งานหนัก ถูกยืดหรือหดตัวเร็วเกินไป สามารถเกิดขึ้นได้ กับทุกส่วนของร่างกาย ไม่เฉพาะแค่เข่าเท่านั้น เมื่อกล้ามเนื้อฉีก จะรู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

3. ปวดหัวเข่าเนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนภายในข้อเข่าสึกกร่อน จนกระดูกในข้อเข่าเสียดสีกันเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และ ปวดหัวเข่าได้ เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายอย่างหักโหมเป็นระยะเวลานาน ข้อเข่าได้รับแรงกระแทกบ่อยครั้ง เป็นต้น

4. ปวดหัวเข่าเนื่องจากโรคผิวสะบ้าอักเสบ (Chondromalacia Patellae) เกิดจากการบาดเจ็บ บริเวณกระดูกสะบ้า เมื่อเกิดแล้วจะรู้สึกปวดหัวเข่าด้านหน้า มีเสียงดังในเข่า รู้สึกเจ็บเวลาขึ้น – ลงบันได หรือ เวลาลุกเปลี่ยนท่า มักเกิดกับผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไป รวมไปถึงนักกีฬาด้วย

5. ปวดหัวเข่าเนื่องจากโรคเก๊าท์ (Gout) เป็นโรคเกี่ยวกับการปวดหัวเข่า ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากข้อเข่าอักเสบ เพราะมีภาวะกรดยูริก (Uric Acid) ในเลือดสูง แล้วสะสมอยู่ในข้อจนเกิดผลึก จึงทำให้มีอาการปวด แสบ ร้อน บวม แดงที่เข่า หากไม่รักษา จะทำให้เกิดโรคข้อเข่าอักเสบเรื้อรังได้

ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า บอกโรคได้ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กล้ามเนื้อฉีก ผิวสะบ้าอักเสบ

6. ปวดหัวเข่าเนื่องจากเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ (Patellar Tendinitis) เกิดจากการบาดเจ็บ บริเวณใต้ลูกสะบ้า โดยเส้นเอ็นของกระดูก ที่เชื่อมกับลูกสะบ้า เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาด มักเกิดขึ้นกับนักวิ่งเป็นส่วนใหญ่

7. ปวดหัวเข่าเนื่องจากภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด (Anterior Cruciate Ligament) เกิดจาก 1 ใน 2 เส้นเอ็น ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกหน้าแข้ง กับกระดูกต้นขาเกิดการฉีกขาด เมื่อขาดแล้ว จะเกิดอาการปวดบวม เนื่องจากมีเลือดออกในข้อ ทำให้งอ และ เหยียดข้อเข่าไม่ได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ นักกีฬาฟุตบอล นักบาสเก็ตบอล นักเทนนิส

8. ปวดหัวเข่าเนื่องจากถุงน้ำลดการเสียดสีในเข่าอักเสบ (Knee Bursitis) โดยปกติแล้ว คนเรา จะมีถุงน้ำ สำหรับลดการเสียดสี และ แรงกระแทก อยู่ภายในเข่า ซึ่งกรณีนี้เกิดจาก ถุงน้ำที่อยู่ระหว่างข้อเข่า และ เส้นเอ็นเกิดการอักเสบ สาเหตุเกิดจากแรงกด แรงกระแทกบ่อยครั้ง จนอักเสบขึ้นมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณถุงน้ำเหนือกระดูกสะบ้า และ ถุงน้ำใต้ข้อต่อเข่า ซึ่งแม่บ้านที่ชอบทำงานบ้านแล้วคุกเข่า มักจะเป็นกันบ่อย หรือบางคนก็มักจะเรียกโรคนี้ว่า โรคเข่าแม่บ้าน (Housemaid’s knee) นั่นเอง

9. ปวดหัวเข่าเนื่องจากเข่าบวมน้ำ (Knee Effusion) เกิดจากการอักเสบ ของกระดูกอ่อนรองข้อเข่า (Articular cartilage) หรือเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament-ACL) หรือเอ็นไขว้หลัง (Posterior Cruciate Ligament-PCL) หรือหมอนรองกระดูก (Meniscus) หรือเยื่อหุ้มข้อ (Synovial membrane) อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเยื่อหุ้มข้อ (Synovial membrane) สร้างสารน้ำขึ้นมา เพื่อป้องกันแรงกระแทก และ เกิดการสะสมของน้ำในหัวเข่า จนเกิดอาการปวด บวม ตึงเข่า งอเข่าไม่ได้นั่นเอง

10. ปวดหัวเข่าเนื่องจากหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด (Miniscus Tear) เกิดจากการบิดเข่า งอเข่า หรือ หมุนเข่าผิดจังหวะ ทำให้บาดเจ็บบริเวณหัวเข่า หรือ ข้อพับ ส่วนใหญ่มักมาจาก การเล่นกีฬา ที่ต้องอาศัยความเร็ว มีการชน และการกระแทก เช่น ฟุตบอล รักบี้ อเมริกันฟุตบอล เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดหัวเข่า

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ

1. อายุที่มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว โรคต่างๆ ที่เกิดจากการปวดหัวเข่า มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุ หรือ ผู้สูงวัย
2. น้ำหนักตัวที่มากขึ้น เพราะหัวเข่า มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของร่างกาย หากน้ำหนักตัวมาก ก็จะทำให้หัวเข่าแบกรับน้ำหนักมากนั่นเอง
3. พันธุกรรม เพราะโรคเกี่ยวกับการปวดหัวเข่าบางโรค สามารถส่งผ่านพันธุกรรมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม
4. เพศ โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคปวดหัวเข่าต่างๆ มักเกิดกับเพศหญิง มากกว่า เพศชาย
5. เคยประสบอุบัติเหตุอย่างแรง เกี่ยวกับขา และ หัวเข่า เช่น กล้ามเนื้อฉีก เอ็นฉีก ข้อเคล็ด เป็นต้น
6. เล่นกีฬาผาดโผน หรือเล่นกีฬา ที่ต้องใช้แรงกระแทก และ กำลังขามาก เช่น วิ่งมาราธอน เตะฟุตบอล รักบี้ ฟรีรันนิ่ง เวคบอร์ด เป็นต้น
7. ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเรียงตัวของหัวเข่าผิดปกติ เช่น เข่าโก่ง (Varus knee) เข่าชิดกันมากกว่าปกติ (Valgus Knee) หรือเข่าแอ่น (Knee Hyperextension) จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
8. นั่งทำงาน ด้วยท่านั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า ยืนนาน ยืนบนส้นสูงนาน แบกของหนัก ก็มีโอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับเข่าได้มากเช่นกัน
9. ผู้ที่มีความยาวของขาไม่เท่ากัน มีโอกาสเข่า และ สะโพกเสื่อมได้มากกว่าคนที่ขายาวเท่ากันทั้งสองข้าง
10. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
11. ขาดวิตามินดี (Vitamin D) และซีลีเนียม (Selenium)

ทำความรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อม

ทำความรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) หรือ โรคเข่าเสื่อม ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เกิดจากกระดูกอ่อนภายในข้อเข่าสึกกร่อน หรือ เสื่อมสภาพลง ทำให้กระดูกในข้อเข่า เกิดการเสียดสี เพราะปกติแล้ว กระดูกอ่อนจะคอยป้องกันการเสียดสี และ แรงกระแทกภายในข้อเข่า แต่เมื่อไหร่ที่กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าสึกขึ้นมา ก็จะทำให้เราปวดหัวเข่า เกิดการอักเสบ และเข่าผิดรูปนั่นเอง โดยสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

1. มีน้ำหนักตัวมากขึ้น (BMI มากกว่า 23 กก./ม.2) หรือเป็นโรคอ้วน
2. อายุที่มากขึ้น ทำให้กระบวนการซ่อมแซมกระดูกภายในด้วยตัวเองลดลง โดยส่วนใหญ่โรคข้อเข่าเสื่อม มักเกิดกับผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่วัยรุ่นก็สามารถเป็นได้
3. ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ขาโก่ง เข่าผิดรูป
4. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
5. เป็นโรคไขข้ออักเสบบางชนิด เช่น โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยท์ ก็จะส่งผลให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนภายในข้อเข่าสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพลง ทำให้กระดูกในข้อเข่าเกิดการเสียดสี จนเกิดอักเสบ ปวดหัวเข่า และเข่าผิดรูป สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายอย่างหักโหมเป็นระยะเวลานาน ข้อเข่าได้รับแรงกระแทกบ่อยครั้ง เป็นต้น

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

1. รู้สึกเจ็บ หรือ ปวด บริเวณข้อเข่า ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
2. เข่ามีเสียงดัง ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
3. ลักษณะของเข่า และ ขาผิดรูป เช่น ขาโก่ง เข่าชนกัน เข่าห่างกันมากเกินไป ขาบิดออกด้านนอก หรือ บิดเข้าด้านใน 
4. ขาสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน
5. ไม่สามารถงอเข่า เหยียดขา หรือเคลื่อนไหวสะโพกได้

วิธีรักษาโรคปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม

วิธีรักษาโรคปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม

1. รักษาด้วยการรับประทานยา : การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) นาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อรักษาโรคปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ จำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์ หรือ เภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการรักษา

2. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด : การทำกายภาพบำบัด เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคปวดหัวเข่าที่ดี เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นหลายจุด ทั้งหัวเข่า กล้ามเนื้อขาทั้งบน และล่าง รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังด้วย ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัด ควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ และ นักกายภาพบำบัดก่อน เพื่อให้การกายภาพบำบัด เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง ป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อนั่นเอง

3. รักษาด้วยการฉีดยา : การฉีดยา เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหัวเข่าอย่างหนัก ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ โดยยาที่แพทย์ใช้หลักๆ แล้วมีอยู่ 2 ตัว ได้แก่


กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) เป็นการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสาร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในเนื้อเยื่อของเข่า ซึ่งเชื่อว่าช่วยลดอาการบวม อักเสบ ลดการเสียดสี ไม่ทำให้รู้สึกปวด โดยต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 – 5 สัปดาห์ และฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว และถ้าช่องว่างระหว่างข้อต่อ ยังไม่มีการแคบลง แล้วไปฉีดก็อาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และยังไม่ทราบผลเสียที่ตามมาแน่ชัด ที่สำคัญยังไม่มีการยืนยันว่า กรดไฮยาลูรอนิค สามารถช่วยลดการเสียดสี หรือการปวดอักเสบที่แน่ชัดได้ แพทย์เฉพาะทาง จึงไม่พิจารณาให้ใช้ หากยังไม่ได้ตรวจอย่างละเอียด เช่น MRI หรือ อายุต้องมากจริงๆ และอาจไม่เกิดผลดีเท่าการบริหารกล้ามเนื้อ และ ลดน้ำหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

– คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เหมาะสำหรับ บรรเทาอาการปวด และ อักเสบตามข้อ ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน แต่หากฉีดบ่อยๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแอ มีผลไปกดเซลล์ไขข้อ ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นรอบข้อ กระดูกอ่อน และ น้ำเลี้ยง ฝ่อแห้ง ผิดปกติ ซึ่งฉีดเพียง 1 – 2 ครั้ง ก็มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นแล้ว

4. รักษาด้วยการผ่าตัด : การผ่าตัด เป็นการรักษาขั้นสูงสุด สำหรับผู้ที่มีปัญหาหนักเกี่ยวกับเข่า ก่อนการผ่าตัดนั้น แพทย์จำเป็นต้องทำการวินิจฉัย โดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เอกซเรย์ (X-Ray) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เจาะระบายน้ำในข้อ (Joint Aspiration) ฯลฯ เพื่อให้แพทย์นำมาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจ ในรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสมกับคนไข้ เช่น

การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic Surgery) โดยแพทย์จะทำการเจาะรูเล็กๆ ที่เข่า เพื่อสอดกล้องขนาดเล็ก และ เครื่องมือเข้าไปทำการรักษา ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง ก็คือ ทำให้แผลมีขนาดเล็ก และแพทย์สามารถเห็น ส่วนต่างๆ ภายในข้อเข่า ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบางครั้งการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ อาจมองไม่เห็นได้ด้วยซ้ำไป โดยการผ่าตัดนี้ สามารถทำได้ทั้งการรักษาข้อเข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกฉีกขาด เอ็นไขว้หน้า หรือ ไขว้หลังฉีกขาด ผิวกระดูกอ่อนเป็นขุย ตัดพังผืดในเข่า ชำระล้างข้อเข่า ดูดเศษเนื้อเยื่อในเข่าออก เป็นต้น

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) เป็นการผ่าตัด เอาผิวข้อที่เสื่อมสภาพออกให้หมด แล้วใส่ผิวข้อใหม่ ซึ่งผิวข้อใหม่ที่ใช้ เป็นวัสดุพิเศษทางการแพทย์ นอกจากใส่ผิวข้อใหม่แล้ว ยังมีการทำให้ความตึง หรือ หย่อน ของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ให้เป็นปกติด้วย ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนี้สามารถอยู่ได้นานถึง 20 ปีเลยทีเดียว เหมาะสำหรับ ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่ามาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

5. รับประทานอาหารเสริม เช่น
– คอลลาเจนประเภทที่ 2 (Collagen Type 2) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม แต่รู้หรือไม่ว่า? จากข้อมูลที่ค้นพบนั้น งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับคอลลาเจนประเภทที่ 2 (Collagen Type 2) เป็นข้อมูลที่พบเฉพาะงานวิจัยเพื่อการตลาดของบริษัทขายวัตถุดิบในต่างประเทศ แต่ในทางการแพทย์ยังไม่มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว คอลลาเจนจะถูกย่อยที่กระเพาะ เหมือนการรับประทานโปรตีนทั่วไป ไม่ได้มีส่วนเข้าไปรักษาข้อเข่าเสื่อม จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แท้จริงว่า คอลลาเจนแก้ปวดเข่า ให้ผลดีในการรักษาโรคได้

นอกจากนี้ในอาหารเสริมส่วนใหญ่จะมี สารกลูโคซามีน และ คอนดรอยติน (Glucosamine and Chondroitin) ที่ช่วยบำรุงข้อเข่า แก้ปวดหัวเข่า ป้องกันเข่าเสื่อมประกอบอยู่ด้วย แต่มีรายงานจากวารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ได้เฝ้าระวังผู้ป่วย ที่ใช้กลูโคซามีน เพื่อลดอาการข้อเข่าเสื่อม พบว่า “ผู้ป่วยกลุ่มนี้ หลังรับประทานยากลูโคซามีน จะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะต้อหิน จนตาบอดในที่สุด” (ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2015/07/10419)

6. รักษาด้วยแพทย์ทางเลือก เช่น การรับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ฉีดสเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเข่า ทาน้ำมันแก้ปวดเข่า ฝังเข็ม เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ปวดหัวเข่า หรือ เจ็บเข่าไม่มากเช่นกัน รวมไปถึงป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับเข่า ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วย

วิธีป้องกันการปวดหัวเข่า ป้องกันเข่าเสื่อม

วิธีป้องกันการปวดหัวเข่า ป้องกันเข่าเสื่อม

เพราะหัวเข่าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ที่ต้องการการดูแล ไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ ดังนั้นการป้องกัน และ ดูแลเข่าตั้งแต่วันนี้ จะช่วยลดโอกาสการปวดหัวเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเข่าอักเสบ ฯลฯ ได้ในอนาคต โดยวิธีการป้องกันการปวดหัวเข่า หรือ ป้องกันเข่าเสื่อม มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น

1. รับประทานอาหาร ด้วยปริมาณที่พอดี และ ถูกหลักโภชนาการ เพื่อป้องกันน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือ ป้องกันการเกิดโรคอ้วน เพราะน้ำหนักมีผลต่อการปวดหัวเข่า และ โรคเกี่ยวกับข้อเข่ามากถึง 50%

2. ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่อาจส่งผลต่อการบาดเจ็บหัวเข่า หรือ เล่นอย่างระมัดระวัง ใส่อุปกรณ์ป้องกันหัวเข่ากระแทกให้เรียบร้อย

4. หลีกเลี่ยงการกระโดด และ การยกของหนัก เพราะจะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักมากขึ้น เกิดการยืดและหดตัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ปวดหัวเข่าและเข่าเสื่อมได้

5. นั่งบนเก้าอี้แทนการนั่งกับพื้น หากนั่งกับพื้นก็ไม่ควรนั่งคุกเข่า นั่งยอง หรือนั่งพับเพียบนานๆ หากจำเป็นต้องนั่งนาน ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และควรหาเบาะนิ่มๆ มารองนั่งด้วย

6. ใช้แขนช่วยยันตัวขึ้น ขณะลุกจากท่านั่ง  

7. บริหารหัวเข่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการปวดหัวเข่า หรือ เข่าเสื่อม โดยใช้ท่าบริหารที่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังชิดกับเก้าอี้ แล้วเหยียดขาข้างหนึ่งออกมาให้ตรง จากนั้นเกร็งขาค้างไว้ 10 วินาที แล้วทำสลับข้างไปเรื่อยๆ เป็นต้น

8. ออกกำลังกายในน้ำ เพราะเข่าจะรับน้ำหนักน้อยกว่าการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ เช่น ว่ายน้ำ เดินในน้ำ

9. ไม่ใส่ส้นสูงเป็นเวลานานๆ เพราะส่งผลให้เข่าเสื่อมได้ง่าย

10. ทำการพบแพทย์ หากพบว่าบุตรหลานมีความผิดปกติของเข่า เช่น เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่นตั้งแต่เด็ก

วิธีรักษาโรคปวดหัวเข่า เข่าเสื่อมอย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องผ่าตัด

หากเอ่ยถึงการรักษาโรคปวดหัวเข่า หรือ เข่าเสื่อมอย่างปลอดภัย และไม่ต้องผ่าตัด ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย การฝังเข็ม การรับประทานยา การทายาแก้ปวดข้อเข่า ซึ่งการใช้ยา ก็ถูกแบ่งประเภทออกไปอีก ทั้งยาแพทย์แผนปัจจุบัน ยาสมุนไพรแพทย์แผนจีน ยาสมุนไพรแพทย์แผนไทย แต่ถ้าอยากได้ความปลอดภัยจริงๆ ล่ะก็ ต้องเป็นยาสมุนไพรแพทย์แผนไทย จึงจะตอบโจทย์มากที่สุด

เทคนิคการเลือกใช้ยาสมุนไพรไทยรักษาโรคปวดหัวเข่า

เทคนิคการเลือกใช้ยาสมุนไพรไทยรักษาโรคปวดหัวเข่า

หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ เข่าเสื่อม และต้องการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย โดยใช้ยาสมุนไพรแก้ปวดหัวเข่าที่ปลอดภัย 100% แต่ไม่รู้จะเลือกใช้ยาตัวไหนดี? กินยาตัวไหนดี? เรามีเทคนิคการเลือกง่ายๆ มาฝากกัน คือ

1. หากเป็นยาที่ใช้รับประทาน ตัวยาสมุนไพรแก้ปวดเข่านั้น ควรสกัดจากสมุนไพร 100% เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในร่างกาย ป้องกันการดื้อยาหลังเลิกรับประทานไปแล้ว เป็นต้น

2. หากเป็นยาทา น้ำมัน หรือสเปรย์ฉีดภายนอก ควรเป็นชนิดที่ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่าย เพื่อการรักษาอย่างลงลึก

3. ผู้ผลิตมีความน่าเชื่อถือ เปิดเผยแหล่งที่มาการผลิต รวมถึงสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมมีประสิทธิภาพในการบรรเทา และ รักษาอาการได้จริง เช่น ไพร ขมิ้นชัน ขิง

4. กระบวนการผลิตมาตรฐาน (GMP) ผ่านการรับรองจาก อย. เพื่อความมั่นใจว่าปลอดภัย 100%

5. มีการการันตีจากผู้ใช้จริง ว่าใช้แล้วอาการดีขึ้น หรือ หายเป็นปกติได้

แนะนำยาสมุนไพรไทยรักษาโรคปวดหัวเข่า หายจริง ปลอดภัย 100%

เมื่อทราบเทคนิค การเลือกใช้ยาสมุนไพรไทย เพื่อรักษาอาการปวดหัวเข่ากันไปแล้ว หลายคนก็คงเลือกไม่ถูกอยู่ดี ว่าจะซื้อยาสมุนไพรแก้ปวดเข่ายี่ห้อไหนดี มารับประทาน หรือ ทาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนั้นเราขอแนะนำ 3 ตัวยา จากศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ ผู้ผลิตยาสมุนไพรไทยชั้นนำมากกว่า 30 ปี มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองจาก อย. และเป็นผู้ผลิตยาสมุนไพรไทย รักษาโรคหลากหลายชนิด ที่มีคนซื้อซ้ำและบอกต่อกันมากที่สุด

1. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)

ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray) สเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเข่า

“ไมรอทนาโนสเปรย์” สเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเข่า สำหรับใช้ภายนอก เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ที่ใช้รักษาอาการปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ หรือเข่าเสื่อมได้จริง ลิขสิทธิ์เฉพาะเพียงหนึ่งเดียว ด้วยการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ทำร่วมกับ ศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ อุดมไปด้วยสารสกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น ไพลสกัด ขมิ้นชันสกัด ขิงสกัด เถาวัลย์เปรียงสกัด เป็นต้น

ด้วยนวัตกรรมนาโนโมเลกุล จะทำหน้าที่รักษาอาการปวดหัวเข่า ได้อย่างตรงจุด สามารถซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึกได้ง่าย ผ่านการวิจัยและการตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% นอกจากนี้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่า เข่าอักเสบ เข่าเสื่อมได้มากถึง 80% อีกด้วย”

นอกจากประสิทธิภาพ ในการรักษาแล้ว ไมรอทนาโนสเปรย์ ยังสามารถชะลอความเสื่อมของเข่า แก้ปัญหาปวดเข่าเรื้อรัง ข้อเข่าอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือเอวก็สามารถใช้ได้ เมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้อาการปวดดีขึ้น จนหายเป็นปกติได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ปวดหัวเข่าเป็นประจำ ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และไม่อยากทานยา เพราะกลัวผลค้างเคียง สามารถใช้ได้ทั้งผู้สูงวัย ที่มีอาการปวดหัวเข่า ปวดข้อเข่า จนไม่สามารถเดินขึ้น – ลงบันไดได้ รวมไปถึง ผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรม และผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

2. ยากษัยเส้น

ยากษัยเส้น หมออรรถวุฒิ ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เจ็บเข่า ปวดข้อ ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม และหมอนรองกระดูกเสื่อม

ยากษัยเส้น ตามท้องตลาด มีให้ซื้อจำนวนมาก แต่ยากษัยเส้น ลิขสิทธิ์เฉพาะเพียงหนึ่งเดียว ของศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ เป็นสมุนไพรแก้ปวดเข่า ปวดข้อ ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม และหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่ถูกกล่าวถึงมาอย่างยาวนาน และ มีการซื้อซ้ำมากที่สุด

เนื่องจากยากษัยเส้น หมออรรถวุฒิ จะรักษาและฟื้นฟูข้อเข่า กระดูก เส้นเอ็น และ กล้ามเนื้ออย่างลงลึกถึงภายใน เพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่า เพื่อลดอาการปวด บวม และอักเสบของข้อเข่า เป็นการรักษาจากต้นเหตุ ซึ่งข้อดีก็คือ ผู้ป่วยจะไม่ต้องเกิดปัญหาปวดเรื้อรังซ้ำซากนั่นเอง

3. ยาตรีโลก

ยาตรีโลก ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ช่วยฟื้นฟูเส้นประสาท ไล่ลมในเส้นและในร่างกาย

ยาตรีโลก ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ลิขสิทธิ์เฉพาะเพียงหนึ่งเดียว ของศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ เป็นตัวยาที่ควรรับประทานคู่กับ ยากษัยเส้น เนื่องจากยาตรีโลก จะไปช่วยฟื้นฟูเส้นประสาท ไล่ลมในเส้นและในร่างกาย เพราะหากเรามีลมในร่างกายเยอะเกินไป จะทำให้ไม่สบายตัว ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว อีกทั้งมีส่วนช่วยสลายผังผืดที่รัดเอ็น ลดการอักเสบของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ อาการปวดต่างๆ ก็จะค่อยหายไปนั่นเอง

ด้วยจำนวนผู้ซื้อซ้ำมากที่สุดในประเทศไทย จึงเป็นการการันตีได้เลยว่า ยาสมุนไพรรักษาโรคปวดหัวเข่าโดยศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ สามารถรักษาโรคปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ เข่าเสื่อมให้หายได้จริง เมื่อทานและใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญหลายคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ไม่ต้องทนทรมานกับอาการปวดหัวเข่าอีกต่อไป ผู้สูงวัยหลายท่านก็กลับมาเดินได้คล่อง รู้สึกดีที่ไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลานอีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ
Shopping Cart
Scroll to Top