เดิน วิ่งไม่ถนัด ปวดสะโพกบ่อย สัญญาณเตือน ข้อสะโพกเสื่อม

เดิน วิ่งไม่ถนัด ปวดสะโพกบ่อย สัญญาณเตือน ข้อสะโพกเสื่อม

แชร์ได้เลยค่ะ

ข้อสะโพกเสื่อม คือ อาการของกระดูกอ่อน ที่ห่อหุ้มระหว่าง กระดูกเชิงกราน และ กระดูกต้นขา เกิดการผุกร่อน เสียหาย จนทำให้กระดูกเชิงกราน และ กระดูกต้นขา เริ่มเสียดสีกัน ส่งผลให้รู้สึกเมื่อยล้า และ ปวดสะโพก เวลาขยับร่างกาย อีกทั้งข้อสะโพกเสื่อม อาการยังสามารถรุนแรงขึ้นไป จนถึงขั้นกลายเป็น ข้อสะโพกเสื่อมเรื้อรังได้ หากไม่รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได ดังนั้น วันนี้เรามีวิธีสังเกตอาการข้อสะโพกเสื่อม รวมไปถึงแนะนำวิธีรักษาข้อสะโพกเสื่อม กายภาพบำบัด เพื่อให้สะโพกของคุณแข็งแรง สามารถใช้งานร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ข้อสะโพกเสื่อม คือ อาการของกระดูกอ่อน ที่ห่อหุ้มระหว่าง กระดูกเชิงกราน และ กระดูกต้นขา เกิดการผุกร่อน จนทำให้กระดูกเชิงกราน และ กระดูกต้นขา เริ่มเสียดสีกัน ส่งผลให้ปวดสะโพก สามารถรุนแรงถึงขั้นข้อสะโพกเสื่อมเรื้อรังได้

รู้หรือไม่? อายุน้อยก็เป็นข้อสะโพกเสื่อมได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อสะโพกเสื่อม
อายุ 50 ปี ขึ้นไป
พันธุกรรม  
เป็นโรคอ้วน
การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันนาน
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น กระดูกหัวสะโพกตาย โรครูมาตอยด์ ฯลฯ 
ความผิดปกติของข้อสะโพก ตั้งแต่กำเนิด
ประสบอุบัติเหตุ จนทำให้ข้อสะโพกแตกหัก ข้อสะโพกหลุด

หากพูดถึง ข้อสะโพกเสื่อม หลายคนอาจคิดว่าเป็นเฉพาะผู้สูงวัย แต่อันที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงวัยเท่านั้น เพราะทุกวัย ก็สามารถเป็นข้อสะโพกเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน จะมีความเสี่ยงต่อการปวดสะโพก และ เป็นข้อสะโพกเสื่อมได้เช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดข้อสะโพกเสื่อม มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น 

  • อายุที่มากขึ้น เกิดการเสื่อมตามสภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป
  • พันธุกรรม โดยมีประวัติบุคคลในครอบครัว เคยเป็นข้อสะโพกเสื่อมมาก่อน
  • น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นโรคอ้วน
  • การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันนาน เช่น สเตียรอยด์ 
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกันเป็นประจำ 
  • การป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น กระดูกหัวสะโพกตาย โรครูมาตอยด์ ฯลฯ 
  • ความผิดปกติของข้อสะโพก ตั้งแต่กำเนิด
  • การบาดเจ็บของข้อสะโพก จากการได้รับอุบัติเหตุ จนทำให้ข้อสะโพกแตกหัก ข้อสะโพกหลุด

ลองเช็คดู! ข้อสะโพกเสื่อม อาการเป็นแบบนี้ 

ลองเช็คดู! ข้อสะโพกเสื่อม อาการเป็นแบบนี้
ปวดสะโพก และ ขาหนีบ 
ปวดสะโพก ต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป 
ข้อสะโพกขัด ฝืด ทุกเช้าหลังตื่นนอน  
ขยับสะโพกแล้วมีเสียงดังกึก ๆ  
รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในข้อสะโพก ต้องสะบัดออก
ขยับขา งอ เหยียด อ้าหุบขา ได้น้อยลงกว่าเดิม 
ปวดสะโพกรุนแรง ร้าวลงขาหนีบ และ เป็นหนักทุกครั้ง ที่เคลื่อนไหวร่างกาย

ข้อสะโพกเสื่อม เป็นภัยเงียบที่จะค่อย ๆ แสดงอาการออกมา โดยเริ่มจากการปวดสะโพก และ ทวีความรุนแรง มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยข้อสะโพกเสื่อม อาการมีดังนี้ 

  • เริ่มมีอาการปวดสะโพก รู้สึกเมื่อยล้าที่ข้อสะโพก และ ขาหนีบ 
  • ปวดสะโพก ต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป 
  • เมื่อข้อสะโพกเสื่อม อาการข้อขัด ฝืด ในทุก ๆ เช้าหลังตื่นนอน จะเริ่มแสดงอาการออกมา
  • เมื่อขยับสะโพกแต่ละครั้ง จะไม่ไหลลื่น มีเสียงดังกึก ๆ  
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในข้อสะโพก ต้องสะบัดสะโพกออก
  • รู้สึกว่าการขยับขา งอ เหยียด และ อ้าหุบขา ได้น้อยลงกว่าเดิม 
  • ปวดสะโพกรุนแรง ร้าวลงขาหนีบ และ จะเป็นหนักขึ้นทุกครั้ง ที่เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน ขึ้น – ลงบันได ย่อตัวลงนั่ง

ไม่อยากเป็น ข้อสะโพกเสื่อม แนะนำให้ทำสิ่งนี้

ไม่อยากเป็น ข้อสะโพกเสื่อม แนะนำให้ทำสิ่งนี้
ออกกำลังกาย 
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  
ควบคุมการทานน้ำตาล  
ทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง  
ทานสมุนไพรไทย ที่มีส่วนช่วยบำรุงข้อกระดูก ข้อสะโพก เช่น ขิง ขมิ้น  
เลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง  
ไม่นั่งทำงานอยู่กับที่นาน ๆ  
หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่ต้องใช้แรงหมุน แรงกระแทกเยอะ
เลี่ยงการยกของหนัก

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นข้อสะโพกเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แถมยังเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย ดังนั้น การหาทางป้องกันอาการปวดสะโพก อาการสะโพกเสื่อม จึงเป็นเรื่องสำคัญ และ หากไม่อยากเป็นสะโพกเสื่อม หรือ ไม่อยากปวดสะโพก แนะนำให้ทำตามนี้

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกระดูก และ กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ข้อสะโพกอักเสบ อาจทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงช่วงข้อต่อสะโพกไม่สะดวก ส่งผลให้เข้าสู่ภาวะข้อสะโพกเสื่อมได้ในที่สุด
  • ลดน้ำหนัก หรือ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อไม่ให้สะโพก แบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป
  • ควบคุมการรับประทานน้ำตาล เพราะหากบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายจะผลิตสารอินซูลินมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้เลือดข้น หนืด จนไม่สามารถ วิ่งไปหล่อเลี้ยง ตามเส้นเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ดีพอ ส่งผลทำให้เกิดอาการเหน็บชา และ ปวดสะโพกได้ง่าย   
  • รับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ มะเขือเทศ ปลาแซลมอน ฝรั่ง เป็นต้น
  • รับประทานสมุนไพรไทย ที่มีส่วนช่วยบำรุงข้อกระดูก ข้อสะโพก เพราะมีส่วนช่วยป้องกัน และ รักษาข้อสะโพกเสื่อมได้ เช่น ขิง ขมิ้น เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อไม่ให้สะโพกแบกรับน้ำหนักตัวมากเกินไป จนเกิดการเกร็งสะโพกมากขึ้น ทำให้ปวดสะโพกได้
  • ไม่นั่งทำงานอยู่กับที่นาน ๆ เพราะจะทำให้กระดูกอ่อนบริเวณสะโพก ขาดออกซิเจน ควรมีการเดินไปมา ผ่อนคลายอิริยาบถบ้าง
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่ต้องใช้แรงหมุน แรงกระแทกเยอะ เช่น รักบี้ บาสเกตบอล ฟุตบอล เทนนิส ฟรีรันนิ่ง เวคบอร์ด ฯลฯ หากจำเป็นต้องเล่น ให้วอร์มร่างกาย และ เซฟร่างกายด้วยอุปกรณ์ที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะจะทำให้สะโพกแบกรับน้ำหนักมากขึ้นไป เกิดการปวดสะโพก และ สะสมจนเกิดเป็นข้อสะโพกเสื่อมได้

ข้อสะโพกเสื่อม รักษาอย่างไร

ข้อสะโพกเสื่อม รักษาอย่างไร
1. ทานยาแก้ปวดสะโพก
2. ฉีดยาสเตียรอยด์
3. ผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อม
4. การทำกายภาพบำบัด

การรักษาข้อสะโพกเสื่อม สามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งแบบผ่าตัด และ ไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งวิธีรักษาข้อสะโพกเสื่อมหลัก ๆ มีดังนี้ 

1. รับประทานยาแก้ปวดสะโพก 

การรับประทานยาแก้ปวดสะโพก เป็นการรักษาข้อสะโพกเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด ยกตัวอย่าง ยาที่ใช้ เช่น

  • พาราเซตามอล (Paracetamol) ใช้ในกรณีที่ปวดสะโพกไม่มาก ทั้งนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยลดอาการอักเสบของสะโพก
  • นาพรอกเซน (Naproxen) เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ออกฤทธิ์ เพื่อยับยั้ง COX2 ช่วยลดอาการปวดสะโพก ระดับเล็กน้อย ถึง ปานกลาง และ ช่วยลดการอักเสบของสะโพกได้
  • กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate) เป็นยาที่ช่วยรักษาข้อสะโพกเสื่อม บรรเทาอาการปวดสะโพก บวม และ ข้อฝืด รวมไปถึงชะลอข้อสะโพกเสื่อมได้ด้วย ทั้งนี้ มีรายงานจาก วารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ได้เฝ้าระวังผู้ป่วย ที่ใช้กูลโคซามีน เพื่อหวังผลในการลดอาการข้อเข่าเสื่อม ซึ่งถือว่ามีกลไกการเสื่อมคล้ายกัน โดยพบว่า “ผู้ป่วยกลุ่มนี้ หลังรับประทานยากลูโคซามีน จะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และ เมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการสั่งจ่ายยากลูโคซามีนจำนวนมาก ทั้งรูปแบบยา และ อาหารเสริม แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีผลการพิสูจน์ว่า กลูโคซามีนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแค่ไหน แต่ก็มีการใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่มีโทษ แต่หลังจากมีการรายงานผลข้างเคียง ของกลูโคซามีนที่ชัดเจน แพทย์ หรือ ผู้ป่วยจากนี้คงต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะต้อหินจนตาบอดในที่สุด” (ที่มา :https://www.hfocus.org/content/2015/07/10419)
  • ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่ใช้แก้ปวดสะโพก สะโพกบวม หรือ อักเสบต่าง ๆ รวมไปถึงใช้รักษาข้อสะโพกเสื่อม โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ฯลฯ โดยยับยั้งที่ COX2
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาข้อสะโพกเสื่อม ของผู้ที่มีอาการเกร็ง หรือ ตึงข้อสะโพก เพื่อใช้ในการคลายกล้ามเนื้อ

จะเห็นได้ว่า กลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยับยั้งที่ COX2 เพียงอย่างเดียว กลไกการเสื่อม อักเสบจึงยังดำเนินต่อไป จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมกินยากลุ่มนี้นาน ๆ แล้ว ถึงยังไม่หายปวดสะโพก ทั้งนี้ การทานยาแก้ปวดสะโพก แผนปัจจุบัน เพื่อรักษาข้อสะโพกเสื่อม จำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์ หรือ เภสัชกร เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการรักษา แต่หากทานติดต่อกันนาน จะมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะ ตับ ไต ระบบหัวใจ ความดัน หลอดเลือด เป็นต้น

2. การฉีดยาสเตียรอยด์

เป็นการรักษาข้อสะโพกเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการปวดสะโพก ข้อสะโพกเสื่อม สำหรับผู้ที่ปวดรุนแรง ทั้งนี้ การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์ 1 ครั้ง ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน เภสัชกรแนะนำว่า ไม่ควรฉีดเกิน 1 ครั้งในชีวิต เนื่องจากมีฤทธิ์ไปกดไขกระดูก ยิ่งทำให้ข้อสะโพกเสื่อมกว่าเดิม และ ไม่สร้างซ่อมแซมตนเองอีกด้วย

3. การผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อม

เหมาะสำหรับผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมระยะสุดท้าย ทานยาแก้ปวดสะโพก แล้วไม่หาย โดยการผ่าตัดมีหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ เช่น

  • ผ่าตัดส่องกล้อง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นข้อสะโพกเสื่อมระยะแรก กระดูกอ่อนข้อสะโพกฉีกขาด หรือ มีเศษกระดูกอ่อนหลุดอยู่ในข้อ จนทำให้เจ็บ ปวด 
  • ผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกรุนแรง ข้อสะโพกผิดรูป จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต 

 ทั้งนี้ การผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายที่สูง และ ต้องอาศัยระยะเวลาการพักฟื้น หากไม่ใช่กรณีที่มีความจำเป็น ไม่แนะนำให้ผ่าตัดจะดีกว่า

4. การทำกายภาพบำบัด

ข้อสะโพกเสื่อม กายภาพบำบัด ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะไม่ว่าคุณจะรักษาข้อสะโพกเสื่อม ด้วยวิธีไหน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การทำกายภาพบำบัด เช่น การเดินในน้ำ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรทำควบคู่ไปกับการรักษาอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูข้อสะโพกให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถฟื้นฟูสะโพกเสื่อม ด้วยการทำกายภาพบำบัด ตามท่าต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น

  • ท่าที่ 1 : ยืนขนาบข้าง กับเก้าอี้ที่มีพนักพิง จับเก้าอี้เพื่อพยุงร่างกายไว้ แล้วแกว่งขาไปด้านหลัง และ ปล่อยกลับมาด้านหน้าช้า ๆ ข้างละ 15 ครั้ง 
  • ท่าที่ 2 : ยืนจับเก้าอี้ หรือ เสา เพื่อพยุงร่างกาย เตะขาออกไปด้านข้างลำตัว เกร็งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อย ๆ ดึงกลับมา ทำข้างละ 15 ครั้ง 
  • ท่าที่ 3 : จับเก้าอี้ที่มีพนักพิง เพื่อพยุงร่างกาย ยกเข่างอขึ้นมาด้านหน้า ค้างไว้สักประมาณ 10 วินาที แล้วปล่อยกลับยืนตรง ทำสองข้างสลับกัน 15 ครั้ง 
  • ท่าที่ 4 : นอนตะแคง แล้วค่อย ๆ ยกขาขึ้นมา ให้สูงกว่าระดับแนวลำตัวเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ วางลง ข้างละ 15 ครั้ง 

ท่าฟื้นฟูข้อสะโพกเสื่อม กายภาพบำบัด เหล่านี้ นอกจากจะช่วย ให้ฟื้นฟูข้อสะโพกเสื่อม อาการปวดสะโพกของคุณดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบข้อต่อสะโพกอีกด้วย  

เชื่อไหม? ยาสมุนไพรไทย ช่วยข้อสะโพกเสื่อมดีขึ้นได้ 

นอกการจากการรักษาข้อสะโพกเสื่อม ตามที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า ยาสมุนไพรไทย คือหนึ่งในวิธีการรักษาอาการข้อสะโพกเสื่อม ให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังปลอดภัยด้วย เนื่องจากไม่ต้องเสี่ยงกับการทานยาแผนปัจจุบัน แล้วมีสารเคมีตกค้างในร่างกาย ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัด แล้วเกิดแผลติดเชื้อภายหลังด้วย 

โดยหนึ่งในผู้ผลิตยาสมุนไพรแก้ปวดสะโพก และ ข้อสะโพกเสื่อม ที่ได้รับความไว้วางใจ มายาวนานกว่า 30 ปี อย่าง “ศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ” เป็นหนึ่งในทางเลือก ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จนมีผู้กลับมาซื้อซ้ำ ยาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเราขอแนะนำ ยาสมุนไพรแก้ปวดสะโพก และ รักษาข้อสะโพกเสื่อม ทั้งรูปแบบยาภายนอก และ ภายใน ให้ทุกคนรู้จักกัน เผื่อเป็นทางเลือกในการรักษา ดังนี้

1. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)

ไมรอทนาโนสเปรย์ สเปรย์สกัดสมุนไพร นวัตกรรมนาโนโมเลกุล NANOPi ซึมลึกผ่านผิว ส่งตัวยาเข้ารักษาอาการปวดสะโพก ข้อสะโพกเสื่อมตรงจุด! 
รับรองผลจากงานวิจัย ยับยั้งกลไกอักเสบได้

“ไมรอทนาโนสเปรย์” สเปรย์สมุนไพรแก้ปวดสะโพก เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก และ ต้องบอกเลยว่า นี่คือ นวัตกรรมยาสมุนไพรแก้ปวดข้อ สะโพก ฯลฯ สำหรับใช้ภายนอก ใหม่ล่าสุด ของประเทศไทย สามารถรักษาอาการปวดต่าง ๆ จากข้อสะโพกเสื่อมได้ เพราะผ่านการวิจัย และ การตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของ ไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% สามารถต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดสะโพก ได้มากถึง 80% อีกด้วย” ซึ่งเป็นการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มีส่วนประกอบของสารสกัดจากสมุนไพรกว่า 7 ชนิด เช่น ไพล ขิง ขมิ้นชัน ฝาง เถาวัลย์เปรียง ฯลฯ มีงานวิจัยฤทธิ์ ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ มาพัฒนาเป็นอนุภาคนาโน NANOPi ใช้ภายนอก ซึมลึกผ่านผิว ส่งตัวยาเข้ารักษาตรงจุดที่ใช้ โดยไม่ต้องรับผลเสียจากยากินแก้ปวด นอกจากประสิทธิภาพ ในการรักษาอาการปวด อักเสบ จาก ข้อสะโพกเสื่อมได้แล้ว ยังสามารถรักษาอาการปวดสะโพกเรื้อรัง ข้อเข่าอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เอว ได้อีกด้วย

2. ยากษัยเส้น และ ยาตรีโลก

สองตัวช่วยฟื้นฟู กู้อาการปวดสะโพก ปวดเอว ปวดหลัง ข้อสะโพกเสื่อม สกัดสมุนไพร 100% ลิขสิทธิ์เฉพาะ หมออรรถวุฒิ

ยากษัยเส้น และ ยาตรีโลก จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ คือ สองตัวยา ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน ส่งเสริมกัน ช่วยให้อาการข้อสะโพกเสื่อม ค่อย ๆ ดีขึ้น รวมไปถึงแก้ปวดสะโพก ปวดเอว ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ด้วย เมื่อทานคู่กันแล้วจะยิ่งช่วยฟื้นฟูอย่างลงลึก และ ไม่กลับมาปวดสะโพกได้ง่าย เพราะมีการไล่ลมในเส้น อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการปวดสะโพกด้วย โดยยาสมุนไพร ทั้งสองตัวนี้ สกัดจากสมุนไพร 100% เช่น 

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 (สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล) 
  • สารสกัดดีปลี
  • สารสกัดขิงแห้ง
  • สารสกัดเจตมูลเพลิง
  • สารสกัดกระวานเทศ
  • สารสกัดทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง 
  • สารสกัดเถาวัลย์เปรียงแดง และ ขาว
  • สารสกัดแก่นฝาง 
  • สารสกัดโด่ไม่รู้ล้มสกัด เป็นต้น

ยากษัยเส้น และ ยาตรีโลก เป็นสูตรลิขสิทธิ์หมออรรถวุฒิ เป็นสูตรตำรับที่ลงตัว ผลิตจากสมุนไพรไทย ออแกนิค 100% ที่สด ใหม่ จากเกษตรกรพื้นที่ ผ่านกรรมวิธีสกัดพิเศษเฉพาะ “aq2layers” ลิขสิทธิ์หมออรรถวุฒิเพียงหนึ่งเดียว ทำให้ตัวยาสมุนไพรทุกตัวในตำรับ คงสารสำคัญครบถ้วน เข้มข้น 2 ชั้น ออกฤทธิ์ได้เต็มที่ ทำให้เห็นผลแตกต่างจากยาสมุนไพรทั่วไป ทำให้ได้ผลในการรักษาที่ดี ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ล้างพิษของเสียต่าง ๆ ทำให้ ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดี ต่อไปตามธรรมชาติ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ
Shopping Cart
Scroll to Top