เข่าเสื่อม หรือ ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า เสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น กรรมพันธุ์ การใช้เข่ามากเกินไป อายุที่มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดกับผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพ หรือ สึกกร่อนลง ก็จะทำให้เรารู้สึกปวดหัวเข่าขณะเคลื่อนไหว เข่าเสื่อม ข้อเข่าผิดรูป เป็นต้น หากรู้สึกปวดหัวเข่าเป็นประจำ ตรวจพบแล้วว่าเป็นข้อเข่าเสื่อม ก็ควรทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมทันที เพื่อไม่ให้อาการเข่าเสื่อม เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต เพราะอาจถึงขั้นเดินไม่ได้เลยทีเดียว
อาการเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า อาการเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพลง ซึ่งปกติแล้วกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า จะมีลักษณะเรียบ มันวาว และมีความลื่น มีหน้าที่รองรับแรงกระแทกภายในข้อเข่า ขณะที่เราเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ถ้ากระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพ หรือ ผุกร่อนเป็นบริเวณกว้าง ก็จะทำให้กระดูกในข้อเข่าเสียดสีกันเอง จนทำให้เราจะรู้สึกปวดหัวเข่า ตามลักษณะดังนี้
- ปวดหัวเข่า ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
- ปวดหัวเข่า ขณะนอนหลับ โดยเฉพาะตอนเปิดแอร์นอน หรือ อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น
- รู้สึกข้อเข่าฝืดหลังตื่นนอน โดยส่วนใหญ่มักมีอาการข้อฝืด ไม่เกิน 30 นาที
- ไม่สามารถลงน้ำหนักที่เข่า ขณะเดิน หรือ ออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวหัวเข่าได้อย่างเต็มที่ เวลาขึ้น – ลงบันได หรือ ลุกจากเก้าอี้
- กดที่หัวเข่าแล้วรู้สึกเจ็บ
- มีเสียงดังภายในเข่าขณะเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ตอนงอเข่า ตอนเหยียดเข่า
- ข้อเข่ายึด ติด แข็ง
- ข้อเข่าผิดรูป เช่น ข้อเข่าโก่ง
- หัวเข่าอ่อนแรง
หากเรารู้สึกปวดหัวเข่ามาก จนปล่อยให้ข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง นอกจากการเดินไม่สะดวกแล้ว ยังอาจถึงขั้นเดินไม่ได้อีกด้วย ดังนั้นเราจำเป็นต้องสังเกตอาการปวดหัวเข่าของตนเองให้ดี ว่ามีอาการปวดหัวเข่า ตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ เพราะนั่นแสดงว่า “คุณมีอาการเข่าเสื่อมแล้ว”
อาการเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ
อาการเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : อาการเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น เริ่มมีการสูญเสียกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าบ้างเล็กน้อย แต่เข่ายังคงทำงานได้ปกติทุกอย่าง มีอาการปวดหัวเข่า หรือ ตึงข้อเข่าบ้าง เวลาเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ก็ไม่ได้ปวดนาน หรือ เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต ทั้งนี้อาจมีกระดูกงอก บริเวณขอบข้อเข่าภายในได้ด้วย
- ระยะที่ 2 : อาการเข่าเสื่อมเล็กน้อย เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อน และ บางลง กระดูกที่งอกออกมาจะเป็นปุ่ม ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่ายังคงปกติ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีอาการปวดข้อบ้างเล็กน้อย มีข้อฝืดติดขัดบ้าง และเริ่มมีเสียงในกระดูก เวลาเคลื่อนไหวหัวเข่าเกิดขึ้น
- ระยะที่ 3 : อาการเข่าเสื่อมปานกลาง กระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อน กระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่าเริ่มแคบลง กระดูกข้อเข่าเสียดสีกัน เกิดการอักเสบของข้อ และ เนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อ เข่าบวม เอ็นรอบข้อเข่ายืด และ หย่อน เริ่มปวดหัวเข่ามากขึ้น ข้อฝืดแข็ง เกิดความรู้สึกเข่าติดขัดขณะเดิน เดินได้ไม่คล่องตัว มีเสียงในข้อเข่ามากขึ้น
- ระยะที่ 4 : อาการเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อนเกิน 60% กระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อมีขนาดใหญ่ขึ้น กระดูกข้อเข่าชิดติดกัน เข่าอักเสบ น้ำในข้อเริ่มลดลง ทำให้ข้อเข่ามีการเสียดสีกันมากขึ้น ข้อเข่าหลวม รู้สึกปวดหัวเข่ามาก ข้อเข่าเกิดการผิดรูป เช่น เข่าโก่ง เข่าแอ่น หรือเข่าชนกัน บางคนมีอาการเข่าอ่อนขั้นรุนแรง หกล้มง่าย เดินได้ไม่มั่นคง หรือไม่สามารถเดินได้เลย
ชนิดของอาการเข่าเสื่อม
ชนิดของอาการเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. อาการเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ (Primary Osteoarthritis of Knee) คือ อาการเข่าเสื่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีประวัติการบาดเจ็บของเข่า แต่เกิดจากปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน ได้แก่
- อายุ : ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อม มักจะเริ่มมีอาการตอนอายุประมาณ 40 ปี และจะแสดงอาการเข่าเสื่อมอย่างชัดเจน เมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป
- เพศ : ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอยู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าลดลง
- น้ำหนัก : การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป จึงทำให้เกิดแรงกระแทกมากขึ้น
- กรรมพันธุ์ : หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ก็อาจมีโอกาสทำให้เป็นได้เช่นกัน
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต : พฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยท่วงท่าที่เป็นอันตรายต่อหัวเข่า เป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งยอง นั่งพับเพียบ หากทำเป็นเวลานาน ล้วนส่งผลให้เกิดอาการเข่าเสื่อมได้เช่นกัน
- มีความผิดปกติของข้อ : เช่น ข้อเข่าหลวม เข่าโก่ง ขาแอ่น เป็นต้น
2. อาการเข่าเสื่อมแบบทุติยภูมิ (Secondary Osteoarthritis of Knee) คือ อาการเข่าเสื่อมแบบทราบสาเหตุ โดยมีประวัติการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า เช่น เคยประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกีฬา เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคเก๊าท์ เป็นต้น
วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม อาการเข่าเสื่อม
การรักษาข้อเข่าเสื่อม ทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย เพื่อบริหารข้อเข่า การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัด การรับประทานยา การใช้ยาภายนอก ก็สามารถช่วยให้อาการเข่าเสื่อมดีขึ้นได้ ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นักกายภาพบำบัด และเภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญ ในการรักษาโดยเฉพาะ เพื่อจะได้พบกับแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุด ดังนี้
1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
หากเริ่มรู้สึกปวดหัวเข่า ให้ลองทบทวนถึงพฤติกรรมที่ตนเองทำบ่อยๆ ว่าสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ แล้วหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้น เช่น
- ไม่ยกของหนัก
- ไม่ยืนนิ่งๆ นานๆ เพราะจะทำให้กระดูกอ่อน ขาดออกซิเจน ควรมีการยืดขา เดินไปเดินมาบ้าง
- ไม่นั่งคุกเข่า นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ หรือ นั่งพับเพียบติดต่อกันนาน หากจำเป็นต้องนั่งนาน ก็ควรเปลี่ยนท่าบ่อยๆ โดยไม่ต้องรอให้เมื่อยขาก่อน
- หากน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นโรคอ้วนก็ควรลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหาร และ ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ เดินเร็ว หรือปั่นจักรยาน ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการวิ่งหรือเล่นเวท เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงจากข้อเยอะ
- เก้าอี้ทำงานควรควรเลือกเก้าอี้ที่มีที่รองแขน เพราะเวลาลุกขึ้นยืนจะช่วยพยุงตัวเราขึ้นได้
- ใช้ไม้ถูพื้นแทนการนั่งก้มถูพื้น เป็นต้น
2. ทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดรักษาข้อเข่าเสื่อม ควรได้รับการดูแลโดยนักกายภาพบำบัดโดยเฉพาะ เพื่อให้การรักษาเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องและปลอดภัย
3. การฉีดยา
การฉีดยา เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ แต่ไม่หายขาด และ เสี่ยงต่อการสะสมของยาเคมี หากฉีดมากไป ก็อาจส่งผลให้เข่าเสื่อมมากกว่าเดิมได้ โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปที่บริเวณข้อ เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Cortisone Injections) ที่ช่วยลดอาการปวดหัวเข่า และ การอักเสบ กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) ที่ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นให้กับข้อเข่า เป็นต้น
4. การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า
การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า เช่น พาราเซตามอล ก็ช่วยลดอาการปวดได้ แต่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีอาการปวดหัวเข่าไม่มาก หรือ การรับประทานยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ก็ช่วยลดอาการปวดหัวเข่า และ ต้านอักเสบได้เช่นกัน หรือการรับประทานทานยาคลายกล้ามเนื้อ ก็ช่วยให้การอักเสบของกล้ามเนื้อโดยรอบคลายไปได้ ทั้งนี้การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่าแพทย์แผนปัจจุบัน ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และ อยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะผลข้างเคียงของยาค่อนข้างแรง และ ไม่สามารถใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานได้
5. การผ่าตัด
การผ่าตัด เป็นทางเลือกสุดท้าย ที่แพทย์จะใช้รักษาข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากเหมาะกับ ผู้ที่มีอาการเข่าเสื่อมขั้นร้ายแรง หรือ ระยะสุดท้าย ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีใดได้แล้ว โดยการผ่าตัดมีหลายรูปแบบ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว การผ่าตัดปรับแนวข้อ ทั้งนี้รูปแบบการผ่าตัดขึ้นอยู่กับอาการ และ การวินิจฉัยของแพทย์ เพราะการผ่าตัดไม่ใช่การรักษาที่ปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อ การมีเลือดออกในข้อต่อ กระดูกตาย เป็นต้น
6. รักษาโดยแพทย์ทางเลือกและอื่นๆ
การรักษาโดยแพทย์ทางเลือกและอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การทานคอลลาเจนแก้ปวดเข่า การรับประทานอาหารเสริม การรับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า การใช้ยาแก้ปวดข้อเข่าทาภายนอก ประคบเย็น ประคบร้อน ใช้อุปกรณ์พยุงข้อ ใช้สนับเข่า เป็นต้น
ป้องกันอาการเข่าเสื่อมอย่างไรดี
การป้องกันย่อมง่ายกว่าการรักษา ดังนั้นการป้องกันอาการเข่าเสื่อม จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทุกวัน ดังนี้
1. ระมัดระวังท่วงท่าต่างๆ เช่น ไม่นั่งคุกเข่า นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบติดต่อกันนาน ไม่ถูบ้านด้วยการนั่งถู ควรใช้ไม่ถูพื้นแทน ไม่น่าทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ควรลุกไปเดินยืดกล้ามเนื้อบ้าง เป็นต้น
2. รับประทานอาหาร ในปริมาณที่พอดี และ ถูกหลักโภชนาการ เพื่อป้องกันน้ำหนักเกินมาตรฐาน และ การเป็นโรคอ้วน
3. รับประทานอาหารบำรุงกระดูก ที่มีแคลเซียม และ คอลลาเจนสูง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ มะเขือเทศ ปลาแซลมอน ฝรั่ง เป็นต้น
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน หากเลือกปั่นจักรยาน ก็ควรปรับอานจักรยานให้พอดี หรือ สูงกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อป้องกันการเสียดสีของข้อเข่า
4. ไม่ออกกำลังกายที่ใช้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น วิ่ง เทนนิส แบดมินตัน กระโดดเชือก
5. รับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เพื่อบำรุงกระดูกเข่าไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้ควรเลือกยาสมุนไพร ที่สกัดจากธรรมชาติ 100% เพื่อการรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง และ ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในร่างกาย
ถาม : มีสมุนไพรแก้ปวดเข่าที่รักษา อาการเข่าเสื่อม แบบเห็นผลจริง และ ไม่มีผลค้างเคียงไหม?
ถาม : มีสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่รักษาข้อเข่าเสื่อม แบบเห็นผลจริง และ ไม่มีผลค้างเคียงไหม?
ตอบ : มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด แต่ที่น่าไว้วางใจมากที่สุด และ ได้รับความนิยมตลอดกาล ก็คือ “ยาสมุนไพรจากศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ” ที่ผลิตยาสมุนไพรไทย รักษาโรคต่างๆ มามากกว่า 30 ปี เป็นยี่ห้อที่มีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อกันมากที่สุด เนื่องจากยาแต่ละชนิด ถูกสกัดจากสมุนไพร 100% ได้รับการรับรองจากอย. ว่าไม่มีผลข้างเคียง และ ไม่มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย สามารถรับประทาน เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม และ ป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย ที่สำคัญคือ มีทั้งยารับประทาน และ ยาใช้ภายนอก ยิ่งใช้ร่วมกันยิ่งเห็นผลดี เช่น
1. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)
“ไมรอทนาโนสเปรย์” เป็นสเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่ใช้ภายนอก ต้องบอกเลยว่า นี่คือนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียว จากการพัฒนา NANOPi อนุภาคนาโน การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ทำร่วมกับ ศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ
ด้วยนวัตกรรมนาโนโมเลกุล ที่สกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขิง เถาวัลย์เปรียง ฯลฯ เพื่อใช้ในการป้องกัน และ รักษาอาการเข่าเสื่อม ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าอักเสบ เข่าบวมน้ำ ชะลออาการเข่าเสื่อม ฯลฯ ได้อย่างลงลึก และ เห็นผลจริง
เหมาะมากสำหรับ คนที่ไม่อยากผ่าตัด ไม่อยากรับประทานยาแก้ปวด ไม่อยากฉีดยา เพราะกลัวสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ การดื้อยาภายหลัง เพราะนวัตกรรมนาโนโมเลกุลนี้ สามารถซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึกได้ง่าย ผ่านการวิจัยและการตรวจสอบประสิทธิภาพมาเรียบร้อยแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า ตัวอนุภาคนาโนของไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% สามารถต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของอาการเข่าเสื่อม ปวดหัวเข่า เข่าอักเสบได้มากถึง 80% อีกด้วย
หากใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ใครที่คิดว่าอาการเข่าเสื่อม หรือ ปวดหัวเข่านี้ ทำให้ตัวเองเป็นภาระของคนรอบข้าง ไมรอทนาโนสเปรย์ คือ หนึ่งในยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่ควรมีไว้ใช้อย่างยิ่ง เพราะดีกว่าการใช้ยานวดแก้ปวดทั่วไปอย่างแน่นอน
2. ยากษัยเส้น
ยากษัยเส้น โดยศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการเข่าเสื่อม แก้ปวดหัวเข่า ปวดข้อ ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น และหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่โด่งดังมากที่สุด ในวงการยาสมุนไพรไทย นอกจากมีประสิทธิภาพ ในการรักษาอาการดังกล่าวได้แล้ว ยังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่า จึงทำให้อาการปวดหัวเข่า เข่าบวม และ เข่าอักเสบลดน้อยลง สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ดีกว่าการรับประทานคอลลาเจนอย่างแน่นอน เพราะเห็นผลการรักษาชัดเจน กระดูกแข็งแรงขึ้น ไม่ปวดตามกระดูก และ กล้ามเนื้อ ที่สำคัญไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีตกค้างในร่างกายอีกด้วย
3. ยาตรีโลก
ยาตรีโลก โดยศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ ลิขสิทธิ์เฉพาะเพียงหนึ่งเดียว ที่เราแนะนำให้รับประทานร่วมกับยากษัยเส้น เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ในการฟื้นฟูเส้นประสาท ไล่ลมในเส้น และ ในร่างกาย เพราะถ้ามีลมในร่างกายเยอะเกินไป จะทำให้รู้สึกปวดหัวเข่า ไม่สบายตัว ปวดหลัง ปวดเอว แต่ถ้าเราไล่ลมออกหมด จะช่วยทำให้อาการปวดหายไปนั่นเอง อีกทั้งยาตรีโลกยัง มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูข้อเข่า กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า เส้นเอ็นให้ดีขึ้น ลดการอักเสบของเส้นประสาท และ กล้ามเนื้อ ช่วยลดไขมันส่วนเกิน สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เมื่อน้ำหนักตัวเบาขึ้น ข้อเข่าที่เสื่อม ก็ไม่ต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาการเข่าเสื่อมจึงดีเร็วขึ้นนั่นเอง หากใช้ร่วมกันทั้ง 3 ตัวยาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้การรักษาข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น โดยไม่ต้องผ่าตัด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ