“ตาตุ่ม” เป็นปุ่มปลายสุดของกระดูกขา อยู่ตรงบริเวณข้อเท้า ซึ่งมีทั้งตาตุ่มนอก (Lateral malleolus หรือ External malleolus) และ ตาตุ่มใน (Medial malleolus หรือ Internal malleolus) ตาตุ่ม มีหน้าที่คอยยึดเกาะเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก เพื่อให้เราเดิน วิ่ง กระโดด หมุนตัว ได้อย่างสะดวก แต่มักจะเป็นอวัยวะ ที่ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจมากนัก เมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น ตาตุ่มบวม ปวดตาตุ่ม ลามไปยันปวดข้อเท้า หลายคนก็อาจจะไม่รู้ว่า การที่ตาตุ่มบวมขึ้นมานั้น เป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ นั่นเอง
- ทำความรู้จัก ถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ สาเหตุของตาตุ่มบวม
- ตาตุ่มบวม ถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
- ตาตุ่มบวม ต้องไปพบแพทย์หรือไม่?
- รู้หรือไม่? ตาตุ่มบวม รักษาด้วยการเจาะถุงน้ำ เสี่ยงเป็นซ้ำอีก
- เป็นเบาหวาน ต้องระวัง! ตาตุ่มบวม ติดเชื้อ ไม่รู้ตัว
- ตาตุ่มบวม ปวดข้อเท้า สเปรย์สมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า เอาอยู่!
ทำความรู้จัก ถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ สาเหตุของตาตุ่มบวม
เคยไหม? กับอาการปวดตาตุ่มด้านนอก รู้สึกปวดตาตุ่ม ตาตุ่มบวม เจ็บ ปวดข้อเท้า เราขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ตามนี้ โดยปกติแล้ว คนเราจะมีถุงน้ำตาตุ่ม อยู่ระหว่างกระดูกตาตุ่ม และ ผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงเล็ก ๆ ข้างในบรรจุของเหลว มีหน้าที่ลดแรงกระแทก บริเวณกระดูกตาตุ่ม ซึ่งสาเหตุที่ตาตุ่มบวมนั้น ส่วนใหญ่เกิดจาก ถุงน้ำตาตุ่มด้านนอกอักเสบนั่นเอง อาจจะติดเชื้อ หรือ ไม่ติดเชื้อก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ จนตาตุ่มบวมขึ้นมาได้นั้น เช่น
- ตาตุ่มถูกกระแทก เช่น เล่นกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล
- ประสบอุบัติเหตุที่เท้าอย่างแรง
- ใส่รองเท้าคับแน่น จนตาตุ่มเสียดสีกับรองเท้ามากเกินไป พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าบูท เป็นประจำ เช่น ทหาร ตำรวจ เกษตรกรที่ต้องใส่รองเท้าบูท นักกีฬาที่ต้องใส่รองเท้าหุ้มข้อด้วย
- นั่งพับขา ทับข้อเท้า จนตาตุ่มถูกกดทับนานๆ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ
ตาตุ่มบวม ถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ อาการเป็นอย่างไร
ในช่วงแรกที่ตาตุ่มบวม ไม่เจ็บเท่าไหร่ หลายคนจึงไม่ได้สนใจ เพราะอาการจะค่อย ๆ แสดงออกมา ดังนี้
- ปวดตาตุ่มด้านนอก
- กดที่ตาตุ่ม เจ็บมากขึ้น
- กดที่ตาตุ่ม รู้สึกนิ่ม ๆ เหมือนมีถุงน้ำอยู่ข้างใน
- ตาตุ่มบวมแดง
- หากตาตุ่มบวม ไม่เจ็บมาสักระยะ จับตาตุ่มแล้วจะรู้สึกแข็ง
- ปวดข้อเท้า เดินไม่คล่อง
- มีบาดแผล หนอง แสดงว่า ตาตุ่มบวมจนติดเชื้อ
ตาตุ่มบวม ต้องไปพบแพทย์หรือไม่?
ในกรณีที่ไม่มีบาดแผล หรือ หนองไหลออกมา ตาตุ่มไม่ได้ติดเชื้อ ไม่ได้มีไข้ ก็ไม่ต้องพบแพทย์ เพราะตาตุ่มบวม รักษาให้หายเองได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
- งดเล่นกีฬาที่มีการปะทะ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกของตาตุ่ม
- งดใส่รองเท้าหุ้มข้อ เพื่อลดการถูกเสียดสีที่ตาตุ่ม แล้วจะทำให้ปวดตาตุ่มด้านนอกได้
- งดนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เพื่อลดการถูกเสียดสีที่ตาตุ่ม
- ประคบเย็น 15 – 20 นาที ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อลดอาการตาตุ่มบวม ปวดตาตุ่ม
- ใช้สเปรย์แก้อาการปวดข้อเท้า ฉีดเพื่อบรรเทาอาการปวดตาตุ่ม และอาการปวดข้อเท้า
- ทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ทั้งนี้ควรอยู่ในความดูแลของเภสัชกร
- หากตาตุ่มบวม รักษาดีขึ้นแล้ว หรือ ตาตุ่มบวม ไม่เจ็บแล้ว ก็ให้หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป การนั่งพับขานาน ๆ
รู้หรือไม่? ตาตุ่มบวม รักษาด้วยการเจาะถุงน้ำ เสี่ยงเป็นซ้ำอีก
อีกหนึ่งวิธีการรักษาตาตุ่มบวม จากถุงน้ำตาตุ่มอักเสบ คือ การเจาะถุงน้ำตาตุ่ม เพื่อนำน้ำออกมา ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีสุดท้าย ที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา เหมาะสำหรับคนที่ตาตุ่มบวม เจ็บ รักษาเท่าไหร่ไม่หาย จนภายในตาตุ่มเกิดความเสียหายมากเกิน 90% แพทย์ก็จะพิจารณาเจาะน้ำในตาตุ่มออกมา
แต่ถ้าเจาะไปแล้ว ตาตุ่มบวม อักเสบ เจ็บแบบไม่หายขาด ก็มีโอกาสเกิดการสะสมน้ำ ในถุงน้ำตาตุ่ม ขึ้นมาใหม่ได้ นอกจากนี้ตาตุ่มบวม รักษาด้วยการเจาะเอาน้ำออก ยังต้องใช้ระยะเวลาในการพักข้อเท้า ต้องทำกายภาพบำบัดข้อเท้าควบคู่ด้วย ต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าข้อเท้าจะกลับมาเป็นปกติ ดังนั้นแนะนำว่าให้หมั่นสังเกตตาตุ่มให้ดี ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ บวมหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่เกิดแผล ติดเชื้อเป็นหนอง จนลุกลามถึงขั้นเจาะถุงน้ำนั่นเอง
เป็นเบาหวาน ต้องระวัง! ตาตุ่มบวม ติดเชื้อ ไม่รู้ตัว
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เราอยากให้คุณหมั่นตรวจเช็ค สังเกตเท้าของตัวเองให้ดี เพราะผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเท้าบวม ตาตุ่มบวมได้ง่าย เนื่องจากระบบไหวเวียนโลหิตในร่างกายไม่ดี เสี่ยงต่อหลอดเลือดแดงตีบ ปลายประสาทอักเสบ จนนำไปสู่อาการเท้าบวม ปวดข้อเท้า เกิดแผลที่เท้า ตาตุ่มบวมได้ง่าย
ตาตุ่มบวม ปวดข้อเท้า สเปรย์สมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า เอาอยู่!
ในเมื่อตาตุ่มบวม รักษาได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจะดีกว่าไหม หากเรามีตัวช่วยในการรักษา ที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อสารตกค้างในร่างกาย อย่างยาสมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า มาเป็นตัวช่วยในการฟื้นฟู รักษาอาการปวดตาตุ่ม ให้ดีขึ้นระยะยาว ซึ่ง “ไมรอทนาโนสเปรย์” สเปรย์สกัดสมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ คือ ตัวช่วยสำคัญที่สามารถทำให้ตาตุ่มบวม แก้อาการปวดข้อเท้า ให้ดีขึ้นได้ เป็นทางเลือกธรรมชาติ ไม่ต้องเสี่ยงรับผลเสียจากยาเคมี
ไมรอทนาโนสเปรย์ นับว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรม สเปรย์สกัดสมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า ที่ใหม่ล่าสุดในขณะนี้ เพราะผสมผสานนวัตกรรมการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งวิจัยร่วมกับศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ
โดยไมรอทนาโนสเปรย์ เป็นสเปรย์สมุนไพร ที่สกัดจากสมุนไพร แก้ ปวดข้อเท้า มากถึง 7 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขิง เถาวัลย์เปรียง ฯลฯ ด้วยอนุภาคนาโนโมเลกุล จึงทำให้ไมรอทนาโนสเปรย์ แตกต่างจากสเปรย์ฉีดแก้อาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มทั่วไป เพราะไม่มีส่วนผสมของเมนทอล หรือ ยูคาลิปตัส ที่ให้ความรู้สึกร้อน – เย็น เพียงชั่วคราว แต่ตัวยาจะออกฤทธิ์ได้อย่างตรงจุด ซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึก ช่วยลดอาการตาตุ่มบวม ปวดตาตุ่ม ปวดตาตุ่มด้านนอก ปวดตาตุ่มด้านใน ปวดข้อเท้า ฯลฯ ให้ดีขึ้นอย่างเต็มประสิทธิภาพ ครบทุกกลไก ลึกถึงแก่นของโรค
มีผลการวิจัยรองรับ ผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของ ไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% และยับยั้ง Cox2 , PGE , IL1 , TNF และ อนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของปวดตาตุ่ม ตาตุ่มบวม”
นอกจากนี้ไมรอทนาโนสเปรย์ ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการ ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ ปวดกระดูก กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ฯลฯ มีให้เลือกหลายสูตร ได้แก่ สูตรเย็น สูตรร้อน และ สูตรออริจินัล เพียงแค่ฉีดแล้วลูบวนเบา ๆ สารสกัดจากสมุนไพร จะซึมเข้าใต้ผิวชั้นลึกเข้ารักษา เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ปราศจากยาชา หรือ สเตียรอยด์ ใช้ต่อเนื่องตรงจุดที่เป็นจนหายดีได้ ลดการกินยาแก้ปวด แก้อักเสบเคมี ที่อาจไม่ได้แก้ และ มีผลเสียมาก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ