9 อาการพบบ่อย เจ็บเข่าจากการวิ่ง ปวดขา ปวดหลัง ที่นักวิ่งต้องระวัง

9 อาการพบบ่อย เจ็บเข่าจากการวิ่ง ปวดขา ปวดหลัง ที่นักวิ่งต้องระวัง

แชร์ได้เลยค่ะ

“วิ่ง” เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เพราะเป็นกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรงด้านกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต เรียกว่าเป็นกีฬาที่วัดใจตัวเองด้วยเลยก็ว่าได้ เพราะต้องอาศัยความขยัน ในการฝึกซ้อม และ ความอดทน ต่อระยะทางในการแข่งขันวิ่ง อีกทั้งเป็นกีฬาที่ไม่ต้องลงทุนสูง ก็สามารถวิ่งได้แล้ว ดังนั้นเราจึงเห็นนักวิ่งมือใหม่ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่การวิ่งที่ดี ต้องอาศัยทักษะความรู้ ในการวิ่งที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เจ็บเข่าจากการวิ่ง เจ็บเท้า ปวดขา ปวดหลัง ฯลฯ ดังนั้นเราจึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ 9 อาการที่พบบ่อยในนักวิ่ง มาฝากทุกคนกัน จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

เจ็บเข่าจากการวิ่ง ป้องกันได้ หากมีความรู้ และ ฝึกซ้อมอย่างถูกต้อง

9 อาการพบบ่อย เจ็บเข่าจากการวิ่ง ปวดขา ปวดหลัง ที่นักวิ่งต้องระวังให้ดี

9 อาการพบบ่อย เจ็บเข่าจากการวิ่ง ปวดขา ปวดหลัง ที่นักวิ่งต้องระวังให้ดี
1. กระดูกอ่อนเข่าอักเสบจากการวิ่ง (Runner’s knee)
2. วิ่งแล้วเจ็บเข่าด้านนอก (Iliotibial Band Syndrome) 
3. ปวดกล้ามเนื้อขาหลัง (Hamstring Strain)
4. กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)
5. กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ (Piriformis Syndrome)
6. ปวดหลังช่วงล่าง (Low Back Pain)
7. กล้ามเนื้อโคนขาหนีบอักเสบ (Groin Pain)
8. รองช้ำ (Plantar Fascia)
9. เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendonitis)

แม้ว่าคุณจะฝึกซ้อมวิ่งมาอย่างดีแล้ว อาการบาดเจ็บจากการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น เจ็บเข่าจากการวิ่ง ปวดขา ปวดหลัง หรือแม้กระทั่ง บาดเจ็บที่เท้า ก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักวิ่งมือใหม่ หรือ นักวิ่งมืออาชีพก็ตาม เพราะบางอาการ เกิดจากอุบัติเหตุฉับพลัน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องรู้จัก อาการบาดเจ็บต่างๆ ที่พบได้บ่อยในหมู่นักวิ่ง รวมถึงวิธีการดูแลเบื้องต้น เพื่อลดโอกาสในการเกิดการบาดเจ็บ ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

1. กระดูกอ่อนเข่าอักเสบจากการวิ่ง (Runner’s knee)

อาการกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ จากการวิ่ง เป็นอาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ที่พบได้บ่อยมาก จนได้ชื่อว่าโรค Runner’s knee เป็นการบาดเจ็บบริเวณ ผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้า สาเหตุมักมาจากท่าวิ่งที่ผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็น วิ่งก้าวเท้ายาวเกินไป วิ่งกระแทกส้นเท้า วิ่งไขว้ขา วิ่งยกเข่าสูงเกินไป ฯลฯ จนทำให้กล้ามเนื้อกระแทกกับลูกสะบ้า จนลูกสะบ้าอักเสบขึ้นมาได้

อาการ : หากกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ หรือ ลูกสะบ้าอักเสบ เวลาวิ่งจะรู้สึกปวดเข่าด้านหน้า โดยเฉพาะตอนงอเข่า วิ่งขึ้น – ลงจากที่สูง เพราะลูกสะบ้าอักเสบ จากการเสียดสีกับกระดูกต้นขา หรือแม้แต่ตอนเหยียดเข่า ก็จะรู้สึกปวดหัวเข่าเช่นกัน

วิธีรักษาอาการเจ็บเข่าเบื้องต้น : ให้หยุดพักจากการวิ่ง แล้วประคบเย็นวันละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15 นาที จนกว่าจะหายดี

2. วิ่งแล้วเจ็บเข่าด้านนอก (Iliotibial Band Syndrome)

วิ่งแล้วเจ็บเข่าด้านนอก หรือ เรียกสั้นๆ ว่า อาการ ITB เป็นอาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยอาการ ITB เป็นการบาดเจ็บ บริเวณเส้นเอ็นข้างเข่าส่วนปลาย ที่เสียดสีกับปุ่มกระดูกข้างเข่าบ่อย จนทำให้เอ็นเข่าอักเสบ ซึ่งอาการเจ็บเข่าจากการวิ่งลักษณะนี้ เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น หักโหมในการวิ่งมากเกินไป ชอบวิ่งขึ้น – ลงเนิน ไม่ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนวิ่ง กล้ามเนื้อขาไม่แข็งแรง รองเท้าวิ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

อาการ : หากมีอาการ ITB เวลาวิ่งจะรู้สึกปวดหัวเข่าด้านนอก เจ็บเส้นเอ็นข้างๆ เข่า เพราะเอ็นเข่าอักเสบ จะรู้สึกปวดตั้งแต่บริเวณเข่าด้านนอก ขึ้นไปถึงต้นขา และ สะโพกได้ หากเป็นหนักมาก หัวเข่าด้านข้างอาจบวมขึ้นมาด้วย 

วิธีรักษาอาการเจ็บเข่าเบื้องต้น : หากวิ่งแล้วเจ็บเข่าด้านนอก แนะนำให้ประคบเย็น ประมาณ 20 นาที และ พัก 1 ชั่วโมง สลับกันตลอดวัน จนกว่าจะหายดี หากหายดีแล้ว และ ต้องการกลับมาวิ่งใหม่ ก็ควรยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ก่อนวิ่งทุกครั้ง พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับขา และ สะโพกเป็นประจำ 

3. ปวดกล้ามเนื้อขาหลัง (Hamstring Strain)

อาการปวดกล้ามเนื้อขาหลัง หรือ อาการปวดใต้ข้อพับเข่า เป็นการบาดเจ็บบริเวณรอยต่อ ระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง กับ เส้นเอ็นกระดูกต้นขา หากได้รับการบาดเจ็บบริเวณนี้ อาจทำให้เส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อฉีกเลยก็เป็นได้ สาเหตุหลักมาจาก การวิ่งเร็ว วิ่งระยะไกล วิ่งเร็วสลับหยุดวิ่ง หรือ การหยุดวิ่งกะทันหัน จนทำให้กล้ามเนื้อหยุดชะงัก เกิดการหดตัวนั่นเอง

อาการ : ปวดหัวเข่ามากเวลางอเข่า เจ็บบริเวณใต้ข้อพับเข่า อาจเกิดอาการบวมบริเวณใต้ข้อพับ

วิธีรักษาอาการเจ็บเข่าเบื้องต้น : ให้ประคบเย็น ประมาณ 15 นาที ทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะหายดี หากเกิดอาการบวม หรือ ปวดหัวเข่า ให้นอนยกขาข้างนั้น สูงกว่าระดับหัวใจ หากหายดีแล้ว และ อยากกลับมาวิ่งใหม่ ก็ควรยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนวิ่งทุกครั้ง

4. กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ มักเกิดกับนักวิ่งมือใหม่ ที่หักโหมในการวิ่งมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อหน้าขา หดตัวอย่างรวดเร็ว และ เกิดการอักเสบ ขึ้นมาได้ นอกจากนี้ ยังเกิดจากการวิ่งบนพื้นคอนกรีต รองเท้าวิ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถรองรับน้ำหนักขา ได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ  

อาการ : เจ็บบริเวณแนวหน้าแข้ง และ มีอาการปวดหัวเข่าร่วมด้วย

วิธีรักษาเบื้องต้น : ให้ประคบเย็น ประมาณ 15 – 20 นาที เป็นประจำทุกวัน จนกว่าจะหาย หากต้องการกลับมาวิ่งใหม่ ไม่ควรหักโหมมากนัก โดยให้ยืดเส้นก่อนวิ่ง และหากต้องการเพิ่มระยะทางการวิ่ง ก็ค่อยๆ ปรับโปรแกรมการวิ่ง ด้วยการเพิ่มระยะทางขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เกิน 10% ต่อสัปดาห์

5. กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ (Piriformis Syndrome)

หากกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ จะส่งผลให้รู้สึก เจ็บเข่าจากการวิ่งได้ เพราะกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณก้น ใกล้กับสะโพก จะไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้กัน ทำให้ขณะวิ่ง จะรู้สึกปวดก้น ร้าวไปยังหัวเข่า และ ขา สาเหตุมาจาก การหักโหมในการวิ่งมากเกินไป วิ่งผิดท่า เป็นต้น

อาการ : ปวดบริเวณก้น ร้าวไปยังหัวเข่าและขา

วิธีรักษาเบื้องต้น : หากกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ รู้สึกวิ่งแล้วเจ็บเข่า ปวดหัวเข่า ให้หยุดพักจากการวิ่ง แล้วประคบเย็น สลับกับ ประคบร้อน ประมาณ 15 นาที ทุก 2 – 3 ชั่วโมง หากหายดีแล้ว และอยากกลับมาวิ่งใหม่ ก็ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่ง รวมถึงหลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นลาดชันด้วย

6. ปวดหลังช่วงล่าง (Low Back Pain)

อาการปวดหลังช่วงล่าง จากการวิ่ง สามารถส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อขาหลัง และ ลามไปยังหัวเข่าได้ โดยอาการปวดหลังช่วงล่าง สาเหตุหลักมาจาก กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรง

อาการ : ปวด ตึง บริเวณหลังช่วงล่าง ก้น กล้ามเนื้อขาหลัง และหัวเข่า

วิธีรักษาเบื้องต้น : ให้หยุดพักจากการวิ่ง รวมถึงหยุดเล่นกีฬาทุกประเภท แล้วประคบเย็น สลับกับ ประคบร้อน ประมาณ 15 นาที ทุก 2 – 3 ชั่วโมง หากหายดีแล้ว และอยากกลับมาวิ่งใหม่ ก็ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่ง

7. กล้ามเนื้อโคนขาหนีบอักเสบ (Groin Pain)

กล้ามเนื้อโคนขาหนีบ นับว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้การวิ่งเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากกล้ามเนื้อขาหนีบไม่แข็งแรง หรือ เกิดการอักเสบขึ้นมา ก็อาจจะทำให้เราวิ่งเซไปมา หรือ ขาอ่อนแรงขณะวิ่งได้ โดยอาการกล้ามเนื้อโคนขาหนีบอักเสบ พบได้บ่อยในผู้ที่ไม่ได้ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อขาก่อนการวิ่ง หรือ ชอบวิ่งระยะไกล เป็นนักวิ่งมาราธอน  

อาการ : ปวด เจ็บ ตึง บริเวณขาหนีบ

วิธีรักษาเบื้องต้น : ให้ประคบเย็น ประมาณ 10 – 15 นาที ทุก 1 ชั่วโมง พร้อมกับยืดเส้นขาหนีบด้วย เมื่อหายดีแล้ว และต้องการกลับมาวิ่ง ก็ควรยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนวิ่ง และ หลังวิ่งเสร็จทุกครั้ง

8. รองช้ำ (Plantar Fascia)

รองช้ำ หรือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เกิดจากการอักเสบของ พังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยขณะที่เราวิ่ง น้ำหนักจะกระจายลงบนฝ่าเท้า ส่งผลให้พังผืดที่รองรับแรงกระแทกน้ำหนัก ตึงมากขึ้น เมื่อตึงจนเกินรับไหว จึงเกิดเป็นรองช้ำนั่นเอง ซึ่งอาการรองช้ำ เป็นอาการสะสมจากการวิ่ง มาเป็นระยะเวลานาน  

อาการ : ขณะวิ่งหรือเดิน จะรู้สึกปวดแปล๊บๆ ที่ส้นเท้า และ ฝ่าเท้า บางรายจะพบอาการปวดส้นเท้า หลังตื่นนอนด้วย

วิธีรักษาเบื้องต้น : แนะนำให้กลิ้งเท้า บนขวดน้ำแช่แข็ง หรือ ลูกเทนนิสก็ได้ โดยทำครั้งละ 5 นาที ประมาณ 5 ครั้ง/วัน นอกจากนี้ ให้เลือกรองเท้าวิ่ง ที่เหมาะสมกับรูปเท้าของตัวเอง พื้นนุ่ม สามารถรองรับน้ำหนักเท้า ได้ดีทั้งหมด รวมถึงก่อนการวิ่ง ก็ควรยืดเส้นฝ่าเท้าด้วย

9. เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendonitis)

เอ็นร้อยหวาย เป็นเอ็นที่ยึดระหว่าง ส้นเท้า กับ กล้ามเนื้อน่องหลังขา สาเหตุที่เอ็นร้อยหวายอักเสบ เกิดจากการหักโหมในการวิ่ง ใช้งานเท้าอย่างหนัก เอ็นร้อยหวายตึงเกินไป ไม่มีการยืดกล้ามเนื้อก่อนวิ่ง จนทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้ หรือ อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุอย่างฉับพลัน ที่เกิดจากการวิ่งก็ได้เช่นกัน

อาการ : หากเอ็นร้อยหวายอักเสบ จะมีอาการปวด เจ็บ บวม บริเวณเอ็นร้อยหวาย ซึ่งอาจปวดไปถึงกล้ามเนื้อน่องหลังขา เลยก็ได้ เวลาคลำ หรือ กดที่เอ็นร้อยหวาย จะคล้ายมีตุ่มบริเวณนั้น และที่สำคัญคือ ปวดมากเวลาเดิน และ วิ่ง

วิธีรักษาเบื้องต้น : หากเอ็นร้อยหวายอักเสบ ให้หยุดพักจากการวิ่ง แล้วประคบเย็นประมาณ 20 นาที ทุก 4 ชั่วโมง พร้อมทำการยืดเส้นที่น่อง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้สวมถุงเท้า เพื่อลดแรงกระทบระหว่าง หลังเอ็นร้อยหวาย กับ รองเท้าที่ใส่

อย่าเพิ่งฉีดยาเข้าข้อเข่า รักษาอาการเจ็บเข่า หากยังไม่รู้สิ่งนี้

สำหรับใครที่มี อาการกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ, อาการ ITB, ลูกสะบ้าอักเสบ, เอ็นเข่าอักเสบ หรือ เจ็บเข่าจากการวิ่ง ด้วยสาเหตุใดก็ตาม พยายามรักษาอาการเจ็บเข่าด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะกินยา ประคบเย็น ประคบร้อน ใช้ยานวดแล้วก็ไม่หายสักที จนเกิดคำถามในใจว่า ควรไปฉีดยาเข้าข้อเข่า เพื่อรักษาอาการเจ็บเข่าให้หายเร็วๆ เพื่อจะได้กลับมาวิ่ง และ ออกกำลังกายได้ จะดีไหม? วันนี้เรามีคำตอบ มาตอบทุกคนกัน

เจ็บเข่าจากการวิ่ง ไม่ควรฉีดยาเข้าข้อเข่า เกิน 1 ครั้งในชีวิต เพราะมีฤทธิ์ไปกดไขกระดูก เพิ่มโอกาสการเป็นข้อเข่าเสื่อม และกล้ามเนื้ออ่อนแอ ระบบภายในเข่า จะไม่สามารถซ่อมแซมตนเองได้ ตามธรรมชาติ

การฉีดยาเข้าข้อเข่า เพื่อรักษาอาการปวดหัวเข่า จะเป็นการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เข้าไป ซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ที่มีส่วนช่วยลดอาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ทั้งกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ, อาการ ITB, ลูกสะบ้าอักเสบ, เอ็นเข่าอักเสบ, อาการปวดหัวเข่า, เข่าบวม ฯลฯ

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า? การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ 1 ครั้ง ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน เท่านั้นเอง ที่สำคัญ แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เกิน 1 ครั้งในชีวิต เนื่องจาก คอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์ไปกดไขกระดูก เพิ่มโอกาสในการเป็นข้อเข่าเสื่อม และกล้ามเนื้ออ่อนแอได้ด้วย เพราะระบบภายในเข่า จะไม่สามารถซ่อมแซมตนเองได้ ตามธรรมชาติ

ดังนั้นหากอาการเจ็บเข่าจากการวิ่งของคุณ ยังไม่ได้เป็นอุปสรรค ต่อการใช้ชีวิตมากนัก เราแนะนำให้รักษาเบื้องต้น ด้วยตัวเองไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นการ กินยา ประคบเย็น ประคบร้อน ใช้ยานวด ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ หากใครกลัวว่า กินยาแก้ปวดติดต่อกันนาน แล้วจะเกิดสารเคมีตกค้างในร่างกาย มีผลต่อตับ หรือ ไต ก็สามารถเลือกฝังเข็ม หรือ จะเลือกทานยาสมุนไพร แก้ปวดเข่าก็ได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยง กับสารเคมีตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า ยังช่วยบำรุงข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วย

เสริมความแข็งแรง ให้ร่างกายก่อนวิ่งได้ ด้วยยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า

หนึ่งในวิธีเสริมความแข็งแรง ให้กับทุกส่วนของร่างกาย เพื่อลดโอกาสเกิดการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ, อาการ ITB, ลูกสะบ้าอักเสบ, เอ็นเข่าอักเสบ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, รองช้ำ ฯลฯ นั่นก็คือ การกินยาสมุนไพร แก้ปวดเข่านั่นเอง

เราอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า ยาสมุนไพร มีสรรพคุณในด้านการบำรุงร่างกาย ดังนั้นยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า ก็สามารถกินได้ แม้ไม่ได้ปวดหัวเข่า หรือ เจ็บเข่าจากการวิ่ง อีกทั้งยังไปช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับกระดูก และ ข้อ หากเกิดอาการวิ่งแล้วเจ็บเข่า หรือ บาดเจ็บใดๆ ก็จะไม่เจ็บปวดมากนัก ทั้งนี้เราจำเป็นต้องเลือก ยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า ที่มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการวิจัยทางการแพทย์ ถึงประสิทธิภาพ ในการรักษาอาการเจ็บเข่าได้จริง มี อย. รองรับ กระบวนการได้ผลิตมาตรฐาน (GMP) เช่น ยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ

1. ยากษัยเส้น

ยากษัยเส้น หมออรรถวุฒิ แตกต่างจากยาแก้ปวด ดูแลอาการปวดหัวเข่า และ อักเสบ ได้อย่างลงลึก ด้วยสกัดสมุนไพรธรรมชาติ 100%

“ยากษัยเส้น” เป็นยาสมุนไพร แก้ปวดเข่า ที่รักษาอาการเจ็บเข่า ได้หลากหลายประเภท ทั้งกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ, ลูกสะบ้าอักเสบ, เอ็นเข่าอักเสบ, อาการ ITB ฯลฯ สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% หลากหลายชนิด เช่น

  • เถาวัลย์เปรียงแดงสกัด
  • เถาวัลย์เปรียงขาวสกัด
  • โด่ไม่รู้ล้มสกัด
  • ทองพันชั่งดอกเหลืองสกัด
  • เถาโคคลานสกัด

หากเจ็บเข่าจากการวิ่ง มาเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถกินยากษัยเส้นได้ โดยไม่ต้องกังวลเลยว่าจะต้องกินไปนานแค่ไหน แล้วจะเป็นอันตรายหรือไม่ เพราะ ยากษัยเส้น หมออรรถวุฒิ ไม่เหมือนกับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เมื่อทานแล้ว สามารถเข้าไปรักษา ถึงกลไกการอักเสบได้ อย่างลงลึก ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ นอกจากจะทำให้อาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังช่วยบำรุงเส้นเอ็นอีกด้วย ดังนั้นอาการเอ็นเข่าอักเสบ รองช้ำ เอ็นร้อยหวายอักเสบ ก็ยากที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน

2. ยาตรีโลก

เจ็บเข่าจากการวิ่งเมื่อไหร่ ให้ยาตรีโลก หมออรรถวุฒิ ช่วยคุณ!
ไล่ลมในเส้น ฟื้นฟูเส้นประสาท 
เคลียร์ผนังหลอดเลือดให้โล่งขึ้น 
ช่วยรักษาถึงเส้นประสาทชั้นลึก ลดการอักเสบ ตามหลักแพทย์แผนไทย

โดยปกติแล้ว คอลลาเจนเข่า เกิดจากการซ่อมแซมตนเอง ของเซลล์ในเข่าเราเอง ไม่สามารถเติมจากข้างนอกได้ อีกทั้งอาการปวด อักเสบ ตามหลักแพทย์แผนไทย เกิดจาก ลมปลายปัฏฆาต พิษอักเสบ การไหลเวียนเลือดลม แต่อาการวิ่งแล้วเจ็บเข่าจะหายไป เมื่อเจอ “ยาตรีโลก” เพราะสกัดจากสมุนไพร ซึ่งมีกลไกเฉพาะ สามารถไล่ลมในเส้น ช่วยเคลียร์ผนังหลอดเลือดให้โล่ง และ มีกลไกที่ส่งเสริม กระตุ้นการสร้างเติมเต็มที่เสื่อมสึกหรอไป จึงทำให้อาการปวดหัวเข่า วิ่งแล้วปวดเข่า หายไปได้ อีกทั้งรักษาถึงเส้นประสาทชั้นลึก ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาท ดังนั้นถ้านักวิ่งทั้งหลาย มีอาการกระดูกอ่อนเข่าอักเสบ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, เอ็นเข่าอักเสบ, ลูกสะบ้าอักเสบ ก็จะดีขึ้น หากกินยาสมุนไพร แก้ปวดเข่าตรีโลก อย่างสม่ำเสมอ โดยยาตรีโลก หมออรรถวุฒิ สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% เช่น

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 (สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล)
  • ดีปลีสกัด
  • ขิงแห้งสกัด
  • เจตมูลเพลิงสกัด
  • กระวานเทศสกัด
  • ทองพันชั่งดอกขาวสกัด
  • ทองพันช่างดอกเหลืองสกัด

3. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)

ไมรอทนาโนสเปรย์
รักษาอาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง
นวัตกรรมนาโนโมเลกุล แตกต่างจากสเปรย์ทั่วไป ซึมลึกผ่านผิวได้ง่าย เข้ารักษาตรงจุด ลงลึกอย่างแท้จริง
สกัดจากสมุนไพรมากถึง 7 ชนิด เช่น ไพรสกัด ขมิ้นชันสกัด ขิงสกัด เถาวัลย์เปรียงสกัด 
รักษาอาการวิ่งแล้วเจ็บเข่า  กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ ลูกสะบ้าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ รองช้ำ 
ใช้ได้ทุกส่วนของร่างกายที่ปวดเมื่อย
เห็นผลจริง ไม่มีผลข้างเคียง

อีกหนึ่งสิ่ง ที่เราแนะนำให้นักวิ่งพกติดตัว นั่นก็คือ “ไมรอทนาโนสเปรย์” สเปรย์สมุนไพร ที่ใช้รักษาอาการเจ็บเข่า ปวดหัวเข่า ทั้งการบาดเจ็บจากการวิ่ง ข้อเข่าเสื่อม หรือแม้กระทั่งปวดเมื่อยตามเนื้อตัว โดยไมรอทนาโนสเปรย์ เป็นนวัตกรรมนาโนโมเลกุล NANOPi ใหม่ล่าสุด ของประเทศไทย ที่ศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ ได้ทำการวิจัยร่วมกับนาโนเทค สวทช. สกัดจากสมุนไพรมากถึง 7 ชนิด เช่น ไพลสกัด ขมิ้นชันสกัด ขิงสกัด เถาวัลย์เปรียงสกัด เป็นต้น

ไมรอทนาโนสเปรย์ เป็นสเปรย์สมุนไพรที่ตัวยาจะค่อย ๆ ซึมลึกผ่านผิวได้ง่าย เพื่อเข้ารักษาอาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง ได้อย่างตรงจุด ลงลึกอย่างแท้จริง แตกต่างจากยาทาแก้ปวดเข่า หรือ สเปรย์แก้ปวดเข่า ทั่วไปตามท้องตลาด ที่ผสมเมนทอล หรือ ยูคาลิปตัส ให้รู้สึกร้อน – เย็น เฉยๆ แล้วทำให้อาการเจ็บหัวเข่า หรือ ปวดเข่าหายไปชั่วขณะ ไม่ได้ซึมเข้ารักษาอาการปวดเข่าได้

และต้องบอกเลยว่า ไมรอทนาโนสเปรย์ ผ่านการวิจัย และ การตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของ ไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% และยับยั้ง Cox2 , PGE , IL1 , TNF และ อนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหัวเข่า เข่าบวม ข้อเข่าอักเสบ เข่าเสื่อม อย่างตรงจุด ครบทุกกลไก ลึกถึงแก่นอีกด้วย” สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ
Shopping Cart
Scroll to Top