การฉีดยาเข้าข้อเข่า เป็นหนึ่งในวิธีรักษาเข่าเสื่อม ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเข่าเสื่อม น้ำไขข้อแห้ง หรือ เอ็นเข่าอักเสบอย่างหนัก รักษาด้วยการกินยาแก้ปวดเข่ามานาน แล้วไม่หาย โดยการฉีดยาเข้าข้อเข่านี้ จะช่วยบรรเทาอาการปวด ให้ดีขึ้นได้ และ ลดโอกาสการผ่าตัดข้อเข่า แต่วิธีฉีดยาเข้าข้อเข่า ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป ดังนั้นจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ และศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งวันนี้เรามีเรื่องราว เกี่ยวกับการฉีดยาเข้าข้อเข่า มาฝากทุกท่านกันด้วย
ก่อนฉีดยาเข้าข้อเข่า ต้องรู้ ข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ
ก่อนที่คุณจะคิดฉีดยาข้อเข่า เพื่อรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ น้ำไขข้อแห้ง หรือ อาการเข่าเสื่อม คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า อาการของคุณ ถึงขั้นจำเป็นต้องใช้วิธีฉีดยาข้อเข่าแล้วจริงๆ หรือไม่? เพราะบางครั้งแค่ปรับพฤติกรรม การใช้เข่า การทานอาหาร แล้วทานยาแก้ปวดข้อเข่า นวดด้วยยา ก็หายดีแล้ว โดยอาการข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 (ระยะเริ่มต้น) : เป็นระยะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ถูกทำลายไปแค่เล็กน้อย อาจมีอาการปวดหัวเข่าบ้าง เวลาเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ก็ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ยังไม่จำเป็นต้องฉีดยาเข้าข้อเข่า หรือ กินยาแก้ปวดข้อเข่า เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้เข่าให้ถูกต้อง ทานอาหารบำรุงเข่า หรือ ทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เพื่อบำรุงหัวเข่า ให้แข็งแรงขึ้น อาการก็ดีขึ้นได้
- ระยะที่ 2 (อาการเข่าเสื่อมเล็กน้อย) : เป็นระยะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า สึกกร่อน และ บางลง มีอาการปวดเข่า ข้อเข่าฝืด หรือ ติดขัดบ้างเล็กน้อย อาจมีเสียงกระดูกดังก๊อกแก๊ก เวลาขยับเข่า แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรค ต่อการใช้ชีวิตประจำวันแต่อย่างใด ตามปกติยังไม่จำเป็นต้องฉีดยาเข้าข้อเข่า อาจจะกินยาแก้ปวดข้อเข่า เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม ไปพร้อมๆ กับการปรับพฤติกรรมการใช้เข่าให้ถูกต้อง ทานอาหารบำรุงเข่า หรือ ทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เพื่อรักษา และ บำรุงหัวเข่า ให้แข็งแรงขึ้น
- ระยะที่ 3 (อาการข้อเข่าเสื่อมปานกลาง) : เป็นระยะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า เสื่อมสภาพ และ สึกกร่อนมาก ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่าเริ่มแคบลง น้ำไขข้อแห้ง ทำให้กระดูกข้อเข่าเสียดสีกันง่าย เกิดอาการข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าฝืด แข็ง ติดขัดเวลาขยับเข่า มีเสียงดังในเข่า และมีอาการบวมร่วมด้วย เป็นแล้วจะรู้สึกปวดหัวเข่ามาก เดินไม่สะดวก แพทย์อาจวินิจฉัย และ แนะนำวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมกับผู้ป่วย ด้วยการฉีดยาเข้าข้อเข่า จำเป็นต้องกินยาแก้ปวดข้อเข่า หรือ ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เพื่อรักษา โดยการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะนี้ จะใช้เวลารักษานานพอสมควร อาการถึงจะดีขึ้น
- ระยะที่ 4 (อาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง) : เป็นระยะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า สึกกร่อนมาก มีอาการปวดเข่ามาก มีอาการเข่าอักเสบรุนแรง เกิดเสียงในเข่าเวลาขยับเข่า ข้อเข่าติดขัด น้ำไขข้อแห้ง จนถึงขั้นกระดูกข้อเข่าชิดติดกัน ข้อเข่าผิดรูป ไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องตัว หรือ บางคนอาจเดินไม่ได้เลย แพทย์อาจวินิจฉัยให้ฉีดยาเข้าข้อเข่า หรือ ผ่าตัด
เจาะลึกกลไกล อาการเข่าเสื่อม เป็นอย่างไร
นอกจากการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับระยะอาการเข่าเสื่อมแล้ว เราอยากให้ทุกท่าน ได้ทราบถึงกลไกอาการเข่าเสื่อม ก่อนทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าด้วย เพราะบางครั้งอาการปวดเข่า อาจไม่ได้หมายความว่า เป็นข้อเข่าเสื่อมเสมอไป เพื่อให้การรักษา เป็นไปได้อย่างถูกต้องที่สุด
- ในช่วงแรก ที่รู้สึกว่าปวดเข่า แล้วตัวเองอายุยังไม่มาก ส่วนใหญ่มักจะไม่ถึงขั้นข้อเข่าเสื่อม ควรทำการพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัย ก่อนฉีดยาเข้าข้อเข่า เพราะบางครั้งอาจเป็นแค่ อาการข้อเข่าอักเสบ ที่ไม่ได้รุนแรงมากนัก แค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทายาแก้ปวด ก็หายได้
- อาการข้อเข่าเสื่อม มักมาจากพฤติกรรมการใช้หัวเข่าอย่างหนัก หรือ ทำท่าซ้ำๆ เดิมๆ เป็นเวลานาน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งยองนานๆ เข่าบิด งอ หรือ อ้วน จนเข่าต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป
- หากกระตุ้นให้เกิดอาการปวดเข่าซ้ำๆ อาการข้อเข่าอักเสบ ก็จะเกิดขึ้นซ้ำๆ นำไปสู่อาการข้อเข่าเสื่อมได้
- อาการข้อเข่าเสื่อม หรือ อาการข้อเข่าอักเสบ สามารถเกิดจุดไหนก็ได้ บริเวณรอบๆ ข้อเข่า
- กระบวนการข้อเข่าอักเสบ จะมีการหลั่งสาร COX2, IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ ปริมาณน้ำไขข้อ เป็นวงจรต่อเนื่อง เมื่อน้ำไขข้อแห้งลง ผิวกระดูกอ่อนก็จะถูกเสียดสีไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง
- หากปวดหัวเข่า ข้อเข่าอักเสบบ่อย หรือ ถี่มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อน้ำไขข้อ ลดลงเรื่อยๆ นำไปสู่อาการน้ำไขข้อแห้ง และการเหนี่ยวนำทำลายตัว ของผิวกระดูกอ่อน ซึ่งแพทย์อาจวินิจฉัยให้ฉีดยาเข้าข้อเข่า
- การเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน เซลล์ไขข้อ เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอักเสบทวีคูณ ในบางคน จึงเกิดเข่าบวมน้ำ จับดูแล้วเป็นถุงน้ำนิ่มๆ ได้ด้วย
- หากอายุมากขึ้น โอกาสข้อเข่าเสื่อม จะมีมากกว่าปกติ
รู้หรือไม่? ฉีดยาเข้าข้อเข่า ไม่ใช่วิธีรักษาเข่าเสื่อม ที่ดีที่สุด
เราเชื่อว่า หลายคนอาจไม่รู้ ว่าการฉีดยาเข้าข้อเข่า มีหลายแบบ และการฉีดยาก็ไม่ใช่วิธีรักษาเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ หรือน้ำไขข้อแห้ง ที่ดีที่สุด และบางครั้งการฉีดยาเข้าข้อเข่า ก็ไม่ควรทำบ่อยด้วย เพราะอาจเกิดผลเสีย มากกว่าการรักษา โดยเราขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
1. ฉีดยาเข้าข้อเข่า ด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid)
การฉีดยาเข้าข้อเข่า ด้วยกรดไฮยาลูรอนิค หรือ เรียกสั้นๆ ว่า น้ำไขข้อเทียม เป็นการฉีดน้ำหล่อลื่น เข้าบริเวณช่องว่างของผิวข้อเข่า ในกรณีที่น้ำไขข้อแห้ง ซึ่งกรดไฮยาลูรอนิค ที่นำมาใช้ฉีดนี้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในเนื้อเยื่อเข่าของมนุษย์ เมื่อฉีดยาเข้าข้อเข่าแล้ว จะไปช่วยลดการเสียดสี จึงทำให้รู้สึกว่า อาการปวด หรือ อาการข้อเข่าอักเสบ ลดน้อยลง ทำให้เคลื่อนไหวหัวเข่า เป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ลื่นขึ้น
การฉีดยาเข้าข้อเข่า ด้วยกรดไฮยาลูรอนิค ต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 5 สัปดาห์ โดยฤทธิ์ของกรดไฮยาลูรอนิค จะอยู่ได้แค่ 6 เดือน ถึง 1 ปีเท่านั้น หลังฉีดอาจมีอาการปวด บวม แดง และ ต้องพักการใช้งานเข่า ประมาณ 2 – 3 วัน ทั้งนี้แพทย์เฉพาะทางส่วนใหญ่ มักไม่พิจารณาให้ฉีด เนื่องจากพบว่า ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัด และ อาจไม่เกิดประโยชน์ เท่ากับการบริหารกล้ามเนื้อ อีกทั้งพบว่า ผู้ป่วยบางรายฉีดยาเข้าข้อเข่าแล้ว ไม่เกิดผลในการรักษาเช่นกัน
2. การฉีดเกล็ดเลือด (Platelet Rich Plasma)
การฉีดเกล็ดเลือด หรือ การปั่นเลือด มีวิธีรักษาเข่าเสื่อม ด้วยการใช้เลือดของผู้ป่วยไปปั่น แล้วแยกคัดเอาเกล็ดเลือด และ สารช่วยสร้างเนื้อเยื่อ ไปทำให้มีความเข้มข้นสูงกว่าเกล็ดเลือดทั่วไป 3 – 4 เท่า เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว เกล็ดเลือดจะไปช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ อาการข้อเข่าเสื่อม หลังฉีดจะรู้สึกชาบริเวณเข่า ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และ อาจปวดนาน 1 – 2 วันเลยทีเดียว ซึ่งการฉีดเกล็ดเลือด มีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร และยังไม่มีการวิจัยที่แน่ชัดว่า สามารถรักษาน้ำไขข้อแห้งได้จริงแพทย์จึงไม่นิยมมาใช้ในการรักษา ทั้งนี้การฉีดเกล็ดเลือด ยังอยู่ในระยะศึกษา ทดลอง และมักพบว่าได้ผลน้อย อาจไม่เกิดประโยชน์ เท่ากับการบริหารกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการใช้เข่า จึงเป็นวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม ที่ไม่ค่อยนิยมใช้เท่าใดนัก
3. ฉีดยาเข้าข้อเข่า ด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
การฉีดยาเข้าข้อเข่า ด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ มีส่วนช่วยลดอาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ ปวด บวม ซึ่งการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ 1 ครั้ง ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน ซึ่งแพทย์แนะนำว่า ไม่ควรฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เกิน 1 ครั้งในชีวิต เพราะคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์ไปกดไขกระดูก ยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม และเสี่ยงต่อการเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแอได้ เพราะระบบภายในข้อเข่า จะไม่สามารถซ่อมแซมตนเองได้ ตามธรรมชาติ
การฉีดยาเข้าข่อเข่า นับว่าเป็นการรักษา ที่ค่อนข้างมีความเสี่ยง เพราะผู้ป่วยบางราย อาจเกิดการแพ้ยา เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ เกิดการติดเชื้อจากผิวหนังแทรกซ้อนเข้าไปในข้อเข่าได้ ดังนั้นจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์อย่างถี่ถ้วน ก่อนการตัดสินใจฉีด
เลือกกินคอลลาเจนแก้ปวดเข่า หรือ กินยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าดี?
หากคุณฉีดยาเข้าข้อเข่าไปแล้ว และ อยากบำรุงเข่าให้แข็งแรง แต่เกิดคำถามในใจว่า ระหว่างกินคอลลาเจนแก้ปวดเข่า กับ กินยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า แบบไหนดีกว่ากัน? เพื่อไม่ให้อาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ อาการข้อเข่าเสื่อม หรือ อาการน้ำไขข้อแห้ง มาเยือนอีกครั้ง เรามีคำตอบ มาชี้แจงให้ทุกคนได้ทราบกัน
คอลลาเจนแก้ปวดเข่า
สำหรับการกินคอลลาเจนแก้ปวดเข่านั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราจะมีการผลิตคอลลาเจนน้อยลงโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว โดยคอลลาเจนแก้ปวดเข่า ที่วางขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ เป็นคอลลาเจนประเภทที่ 2 (Collagen Type 2) ที่สกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก หนังปลา เกล็ดปลา ครีบปลา กระดูกอ่อนปลา หนังวัว หนังหมู กระดูกวัว เป็นต้น แต่เราสามารถหาคอลลาเจนได้ จากการกินอาหารทั่วไป ในชีวิตประจำวัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า มะเขือเทศ สาหร่ายทะเล อะโวคาโด้ เป็นต้น อีกทั้งออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี หากไม่เชื่อลองสังเกตได้ จากคนที่ชอบออกกำลังกาย ว่าจะดูเด็กกว่าคนวัยเดียวกัน สุขภาพกายแข็งแรงด้วย
ที่สำคัญจากข้อมูลที่ค้นพบ ตามงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับ คอลลาเจนประเภทที่ 2 (Collagen Type 2) เป็นข้อมูลที่พบเฉพาะงานวิจัยเพื่อการตลาด ของบริษัทขายวัตถุดิบในต่างประเทศ แต่ในทางการแพทย์ ยังไม่มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ อีกทั้งมีข้อสังเกตว่า เมื่อรับประทานคอลลาเจนแก้ปวดเข่า เข้าไปแล้ว คอลลาเจนจะถูกย่อยที่กระเพาะ เหมือนการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนทั่วไป ไม่ได้มีส่วนเข้าไปรักษาข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ อาการปวดหัวเข่า หรือบำรุงข้อเข่าโดยตรง ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อสรุปที่แท้จริง ว่า คอลลาเจนแก้ปวดเข่า ให้ผลดีในการรักษา หรือ บำรุงเข่าให้แข็งแรงได้
ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า
สำหรับการกินยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า เป็นทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อม เอ็นเข่าอักเสบ หรือ อาการข้อเข่าเสื่อม ที่ได้รับความนิยมพอสมควร เพราะปัจจุบันมีการยืนยันทางการแพทย์ และ งานวิจัยหลากหลายฉบับแล้วว่า สมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาสกัดเป็นยา เพื่อรักษาได้จริง มีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือ ดีกว่ายาแพทย์แผนปัจจุบันหลายตัว และมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีตกค้างในร่างกาย แต่อาการจะดีขึ้นเร็ว หรือ ช้า ขึ้นอยู่กับระดับอาการของแต่ละบุคคล โดยสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่นิยมนำมาสกัด เป็นยาแก้ปวดข้อเข่า เช่น
- ขิง (Ginger) โดยงานวิจัยในหัวข้อ “Anti-inflammatory and Anti-oxidant Properties of Curcuma longa (Turmeric) Versus Zingiber officinale (Ginger) Rhizomes in Rat Adjuvant-Induced Arthritis” โดย Gamal Ramadan, Mohammed Ali Al-Kahtani, และ Wael Mohamed El-Sayed ได้สรุปไว้ว่า “สารสกัดจากขิง มีประสิทธิภาพในการต่อต้านการอักเสบได้จริง” (Ref. Inflammation, Vol. 34, No. 4, August 2011 (# 2010) DOI: 10.1007/s10753-010-9278-0)
- ขมิ้นชัน (Curcuma Longa) ซึ่งมีการยืนยันจากผลงานวิจัย ในหัวข้อ “Safety and Anti-Inflammatory Activity of Curcumin: A Component of Tumeric ( Curcuma longa)” โดย NITA CHAINANI-WU, D.M.D., M.P.H., M.S. พบว่า“สารสกัดในขมิ้นชัน มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้จริง และ สามารถยับยั้งโมเลกุลต่างๆ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดการอักเสบได้ด้วย” (Ref. THE JOURNAL OF ALTERNATIVE AND COMPLEMENTARY MEDICINE Volume 9, Number 1, 2003, pp. 161– 168 © Mary Ann Liebert, Inc.)
นอกจากนี้การกินยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ยังมีประสิทธิภาพในการ บำรุงร่างกายให้ดีขึ้น ได้ทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะแค่หัวเข่าเท่านั้น เพราะสมุนไพรหนึ่งชนิด มีสรรพคุณหลากหลาย สามารถทานได้ทุกวัน ติดต่อกันได้นาน
ไม่อยากฉีดยาเข้าข้อเข่า ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ช่วยคุณได้
หากคุณมีอาการข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ หรือ น้ำไขข้อแห้ง ในระยะที่ยังไม่ถึงขั้นต้องผ่าตัด แล้วต้องการรักษา แต่มีข้อแม้ว่า ไม่อยากฉีดยาเข้าข้อเข่า จะทำอย่างไรได้บ้าง?
เราแนะนำให้กินยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าดู เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นว่า ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า สามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ แต่คุณจำเป็นต้องพิถีพิถัน ในการเลือกยี่ห้อยาสมุนไพรสักนิด เพื่อการรักษาข้อเข่าเสื่อมอย่างลงลึก ถึงกลไกภายใน ต้องเลือกผู้ผลิตยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่มีผลวิจัยรองรับ ถึงประสิทธิภาพในการรักษา ผ่านมาตรฐาน GMP มีการรับรองจาก อย. เช่น “ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ” ที่เป็นสูตรตำรับเฉพาะ สกัดบริสุทธิ์ ไม่ใช้ตัวทำละลายเคมี ทำให้ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ไม่ดื้อยาหลังเลิกใช้ สามารถยับยั้งกลไก การอักเสบได้อย่างลงลึก ส่งเสริมกันทุกกลไก ไม่ว่าจะเป็น COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ โดยยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า มีทั้งยาใช้ภายนอก และ ภายใน ยิ่งใช้ร่วมกัน ยิ่งเห็นผลการรักษาที่ดี และเร็วขึ้น ดังนี้
1. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)
ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray) เป็นสเปรย์ที่ใช้ฉีด เพื่อรักษาอาการปวดหัวเข่า อาการข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ ฯลฯ รวมไปถึงชะลอการเกิด อาการเข่าเสื่อมได้ด้วย อีกทั้งสามารถใช้ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวด ทุกจุดของร่างกาย
ความโดดเด่นของไมรอทนาโนสเปรย์ คือ สกัดจากสมุนไพรแก้ปวดเข่า มากถึง 7 ชนิด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขิง เถาวัลย์เปรียง เป็นนวัตกรรมนาโนโมเลกุล ใหม่ล่าสุด ของประเทศไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยอนุภาคนาโนโมเลกุล จึงทำให้ตัวยา ซึมลึกผ่านผิวได้ง่าย ส่งตัวยาเข้ารักษาตรงจุด
โดยไมรอทนาโนสเปรย์ ผ่านการวิจัย และ การตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโน ของไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% และยับยั้ง Cox2 , PGE , IL1 , TNF และ อนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อเข่าอักเสบ เข่าเสื่อม อย่างตรงจุด ครบทุกกลไกลึกถึงแก่น” จึงทำให้ผู้ที่มีอาการเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าอักเสบ หรือ เอ็นเข่าอักเสบ ไม่ต้องเสี่ยงกับฉีดยาเข้าข้อเข่าด้วย
2. ยาตรีโลก
หลายคนอาจไม่ทราบ ว่าสาเหตุของอาการเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ ที่ทำให้รู้สึกปวดเข่า เกิดจากการมีลมในเส้น ดังนั้น ยาตรีโลก จึงเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่ช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม ให้ดีขึ้นได้ เพราะสกัดจากสมุนไพรที่ทำหน้าที่ไล่ลมในเส้น ตามหลักแพทย์แผนไทย เช่น
- สารสกัดสมอทั้ง 5 (สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล)
- สารสกัดดอกคำฝอย
- สารสกัดดีปลี
- สารสกัดขิงแห้ง
- สารสกัดเจตมูลเพลิง
- สารสกัดกระวานเทศ
- สารสกัดทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง เป็นต้น
เมื่อลมในเส้น ถูกขับออกมาหมดแล้ว การฟื้นฟูเส้นประสาทข้อเข่า ก็จะเป็นไปอย่างง่ายดาย ทำให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้นได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดยาเข้าข้อเข่า
3. ยากษัยเส้น
ยากษัยเส้น เป็นยาแก้ปวดข้อเข่า ที่สกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น
- เถาวัลย์เปรียงแดงสกัด และ เถาวัลย์เปรียงขาวสกัด : มีส่วนช่วยลดอาการปวดข้อเข่า เอ็นเข่าอักเสบ อาการข้อเข่าอักเสบ ชาปลายมือ ปลายเท้า
- กำลังวัวเถลิงสกัด : มีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เส้นเอ็นยืดหยุ่นได้ดี ไม่ต้องทนเจ็บกับอาการเอ็นเข่าอักเสบ
- โด่ไม่รู้ล้มสกัด : มีส่วนช่วยสร้างน้ำไขข้อ ทำให้อาการน้ำไขข้อแห้งดีขึ้น สามารถขยับเข่าได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างคอลลาเจนใต้ไขข้อ ให้ดีขึ้นด้วย
- ทองพันชั่งดอกเหลืองสกัด : มีส่วนช่วยไล่ลมในเส้น ทำให้เลือดหมุนเวียน ลดอาการปวด เคล็ดขัดยอก
เมื่อมีการรับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า หมออรรถวุฒิ ร่วมกับการใช้ไมรอทนาโนสเปรย์อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดยาเข้าข้อเข่า ทั้งนี้แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เข่า ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อไม่ให้เข่ารับน้ำหนักตัวมากเกินไป รวมไปถึงออกกำลังเบาๆ เพื่อทำให้ข้อเข่าแข็งแรง อาการข้อเข่าเสื่อม ก็จะดีขึ้นในเร็ววัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ