ข้อเข่าอักเสบ มีด้วยกันหลายรูปแบบ โดยโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบ ที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis), โรคเก๊าท์ (Gout) และ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งสาเหตุหลักของข้อเข่าอักเสบเกิดจาก ข้อต่อกระดูกภายในหัวเข่า เกิดการอักเสบนั่นเอง ผู้ป่วยจึงรู้สึกปวดตามข้อเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าบวม ข้อเข่าติดขัด เป็นต้น ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค เมื่อเกิดโรคดังกล่าวแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการรักษา รับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการเลือกรับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบแต่ละรูปแบบ ว่าควรเลือกทานแบบไหน ถึงจะไม่ทำร้ายสุขภาพในระยะยาว
รู้จักอาการเบื้องต้น ก่อนเลือกรับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ
ก่อนที่จะเลือกรับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบนั้น เราขออธิบายให้ทุกคนเข้าใจว่า “เข่า” ประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกสะบ้า (Patella) หากเกิดการอักเสบบริเวณข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกแต่ละส่วน ก็มีอาการเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ปวดหัวเข่าหรือเจ็บเข่าเวลาเดินหรือลงน้ำหนักที่เข่า
2. มีอาการบวมหรือแดงเกิดขึ้นบริเวณหัวเข่า
3. ข้อเข่าติดขัด หรือ ฝืด
4. ไม่สามารถขยับเข่า งอเข่า หรือยืดเข่าได้อย่างเต็มที่
หากมีอาการนอกเหนือจากนี้ เช่น ตัวร้อน ไข้ขึ้นสูง เวียนหัว น้ำหนักลด มีอาการชา หรือ อ่อนแรงขณะเดิน กล้ามเนื้อต้นขาลีบ มีเสียงดังในข้อเข่า เท้าเปลี่ยนสีขณะเดินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แสดงว่าไม่ใช่ข้อเข่าอักเสบแบบธรรมดา แต่เป็นโรคอื่น ที่มีข้อเข่าอักเสบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเก๊าท์ หรือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ตามที่เรากล่าวไปข้างต้น โดยยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ที่ใช้ในการรักษาของแต่ละโรค จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค ก่อนการรับประทานยานั่นเอง
3 โรคยอดฮิตเกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบ
โรคที่เกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบที่พบบ่อยมากที่สุด มีอยู่ด้วยกัน 3 โรค ดังนี้
1. โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจาก กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพลง ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น พฤติกรรมการใช้เข่าหนักเกินไป น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น กรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ฯลฯ ซึ่งปกติแล้ว กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าของเรา จะมีลักษณะเรียบ มันวาว และมีความลื่น ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกภายในข้อเข่า ขณะที่เราเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ถ้ากระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพลง หรือ ผุกร่อนขึ้นมา ก็จะทำให้กระดูกในข้อเข่าเสียดสีกันเอง เมื่อสะสมนานเข้าก็จะกลายเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม หากไม่ทำการรักษา หรือ รับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ก็อาจถึงขั้นเดินไม่ได้เลยทีเดียว
2. โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวกับ ข้อเข่าอักเสบ อันเนื่องมาจากมีภาวะกรดยูริก (Uric Acid) ในเลือดสูง และ สะสมจนเกิดผลึกอยู่ในข้อเข่า จึงทำให้เกิดอาการข้อเข่าอักเสบ ปวด บวม แสบ และร้อนได้ นอกจากข้อเข่าแล้ว โรคเก๊าท์ก็อาจเกิดขึ้นที่ข้อเท้า ข้อศอก ข้อต่อกระดูกมือ หรือ ข้อมือได้เช่นกัน หากไม่ได้รับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ หรือ ทำการรักษาอย่างรวดเร็ว และ ถูกวิธี ก็จะกลายเป็นข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคไต หรือ ไตวาย โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อ ที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูก ทั้งนี้โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ถือว่าเป็นการอักเสบของข้อเข่า ในระดับรุนแรง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรับประทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ และ ทำการรักษาอย่างเร็วที่สุด เนื่องจากหากปล่อยไว้นาน ข้อเข่าจะถูกทำลาย และ อาจพิการได้ด้วย โดยสาเหตุของโรคนี้ ไม่มีการระบุอย่างแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่จากการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ทำลายเนื้อเยื่อของตนเอง รวมไปถึงพันธุกรรม และการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย
เลือกทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบแบบไหนดี?
ยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ มีให้เลือกรับประทานหลากหลายตัว ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอาการจากแพทย์ ก่อนรับประทานยาเพื่อรักษา หรือ ต้องจ่ายยาโดยเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต โดยยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ที่ใช้ในการรักษากันอย่างแพร่หลาย เช่น
1. กลุ่มยาแก้ปวด
เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาข้อเข่าอักเสบโดยตรง สามารถหาซื้อรับประทานเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์
2. กลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
เป็นยาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น เพราะผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ อยู่แล้ว ไม่สามารถใช้ยาบางตัวได้ และหากใช้ยาในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจวายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น
- ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เป็นยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดหัว ปวดฟัน ปวดหลังได้ด้วย ทั้งนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ และ เภสัชกร ก่อนการใช้ยา ทั้งนี้ยาไอบูโปรเฟนเป็นยาที่จัดอยู่ในหมวดตามใบสั่งแพทย์ และ สามารถหาซื้อเองได้จากเภสัชกร
- ยานาพรอกเซน (Naproxen) เป็นยาตามใบแพทย์สั่ง ที่ช่วยลดฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ควรใช้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการตั้งครรภ์ เพราะอันตรายต่อเด็กในครรภ์ และไม่ควรให้นมบุตร ในขณะที่ใช้ยานาพรอกเซนอีกด้วย
- ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) เป็นยาตามใบแพทย์สั่ง ที่ช่วยลดฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ เช่นเดียวกับยานาพรอกเซน นอกจากนี้ยาอินโดเมธาซิน ยังใช้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง – ระยะรุนแรงอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมียาอีกหลายชนิดที่อยู่ใน กลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ ที่มีประสิทธิภาพ ในการรักษาข้อเข่าอักเสบ เช่น ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นต้น
3. ยากลูโคซามีน (Glucosamine)
เป็นยาที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวด บวม ข้อเข่าติดขัด ฝืด อันเนื่องมาจากการอักเสบของข้อเข่า และ มีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้ด้วย โดยเราอาจจะเห็นกลูโคซามีนเข้าไปเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในหลายๆ ตัว เนื่องจากกลูโคซามีน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามการขึ้นทะเบียนยา คือ ยาอันตรายที่ใช้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้บำรุงสุขภาพนั่นเอง
ทั้งนี้ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงรายงานผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลูโคซามีนว่า
“มีรายงานจากวารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ได้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่ใช้กูลโคซามีนเพื่อหวังผลในการลดอาการข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้หลังรับประทานยากลูโคซามีนจะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการสั่งจ่ายยากลูโคซามีนจำนวนมาก ทั้งรูปแบบยาและอาหารเสริม แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีผลการพิสูจน์ว่ากลูโคซามีนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแค่ไหน แต่ก็มีการใช้ไปเพราะเห็นว่าไม่มีโทษ แต่หลังจากมีการรายงานผลข้างเคียงของกลูโคซามีนที่ชัดเจน แพทย์หรือผู้ป่วยจากนี้คงต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะต้อหินจนตาบอดในที่สุด” (ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2015/07/10419)
4. ยาโคลชิซิน (Colchicine)
เป็นยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ที่ใช้ในการรักษาโรคเก๊าท์ รวมไปถึงรักษาภาวะกรดยูริคในเลือดสูง ทั้งนี้ยาโคลชิซินเป็นยาตามใบแพทย์ มีข้อห้ามในการใช้และมีผลข้างเคียง ใช้และผลข้างเคียงมาก เช่น อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นเหน็บชา หรือความสามารถในการผลิตสเปิร์มลดลง เป็นต้น
สมุนไพรแก้ปวดเข่า ทางเลือกการทานยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบแบบปลอดภัย
สำหรับใครที่ไม่อยากเสี่ยงกับผลข้างเคียง และ สารเคมีตกค้างในร่างกายของยาแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาด้วยยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ในรูปแบบสมุนไพรแก้ปวดเข่า ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีทั้งยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าในรูปแบบรับประทาน และยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าในรูปแบบยาใช้ภายนอก ทั้งนี้เราควรให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย ของการเลือกใช้ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ด้วยการพิจารณาตามเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ผลิตต้องมีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงมายาวนาน เป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรุงยาจากสมุนไพรโดยเฉพาะ เช่น แพทย์แผนไทย
2. ยาสมุนไพรต้องสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงและสารเคมีตกค้างในร่างกาย
3. ส่วนประกอบสมุนไพรในสูตรตำรับที่นำมาใช้ปรุงยา ต้องมีผลวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาได้จริงและ ไม่มีผลข้างเคียง
4. กระบวนการผลิตมาตรฐาน (GMP) ผ่านการรับรองจาก อย.และ สูตรตำรับที่ลงตัว ตามองค์ความรู้เฉพาะด้าน
5. ได้รับการการันตีคุณภาพและผลลัพธ์จากผู้ใช้จริง
ซึ่งยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ ในรูปแบบสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่มีประสิทธิภาพตรงตามเกณฑ์ด้านบนทุกข้อที่เราอยากแนะนำก็ คือ ยากษัยเส้น ยาตรีโลก และ ไมรอทนาโนสเปรย์ จากศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ โดยแต่ละตัวยามีคุณสมบัติดังนี้
1. ยากษัยเส้น
ยากษัยเส้น เป็นยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกี่ยวกับข้อ และ เส้นเอ็นโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น การรักษาข้อเข่าอักเสบ เจ็บเข่า เจ็บข้อเข่า โรคที่เกี่ยวกับการอักเสบข้อเข่าด้วย เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมไปถึงหมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการรักษาแล้ว ยังช่วยบำรุงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อให้แข็งแรง และ ยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายไม่เมื่อยล้า รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้
2. ยาตรีโลก
ยาตรีโลก เป็นยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่ใช้คู่กับ ยากษัยเส้น ซึ่งจะส่งผลให้เห็นประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอักเสบ ดีขึ้น รักษาลึกถึงแก่น ซึ่งยาตรีโลก จะทำหน้าที่ลดการอักเสบ ฟื้นฟูเส้นประสาท ไล่ลมในเส้น ทั้งหมดในร่างกาย ตามหลักแพทย์แผนไทย เนื่องจากการมีลมในร่างกายเยอะ จะทำให้รู้สึกปวดตามส่วนต่างๆ ในร่างกายนั่นเอง นอกจากนี้ ยังช่วยลดไขมันส่วนเกิน ลดการบวมน้ำ น้ำหนักตัวเบาขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมก็จะดีขึ้นด้วย
3. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)
ไมรอทนาโนสเปรย์ เป็นนวัตกรรมนาโนโมเลกุล ที่ใหม่ที่สุดในประเทศไทย สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ง่าย เป็นการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสกัดสมุนไพรมากถึง 7 ชนิด เช่น ไพร ขมิ้นชัน ขิง เถาวัลย์เปรียง เป็นต้น
ไมรอทนาโนสเปรย์ เป็นยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ สำหรับใช้ภายนอก มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ ปวดหัวเข่า เจ็บเข่า เข่าเสื่อม และ โรคเกี่ยวกับการปวดเข่าได้จริง พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ทำร่วมกับ ศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ
ผ่านการวิจัย และ การตรวจสอบประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% นอกจากนี้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่า เข่าอักเสบ เข่าเสื่อมได้มากถึง 80% อีกด้วย”
นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษาโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้ออักเสบ ที่ผู้ใช้จะไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ ผลข้างเคียงของยา ดังนั้น สำหรับใครที่ต้องการยาแก้ปวดเข่าข้ออักเสบ แบบปลอดภัย ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า โดยศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ