หากคุณรู้ตัวว่าตัวเอง มีอาการข้อเข่าอักเสบ อันเนื่องมาจากการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) โรคเก๊าท์ (Gout) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เข่าอักเสบบวม อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ฯลฯ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่คุณต้องรู้ข้อมูล ของยาแก้ข้อเข่าอักเสบแต่ละชนิด เพื่อให้การรักษาหัวเข่าอักเสบ เป็นไปได้อย่างถูกวิธี รักษาได้อย่างลงลึก ตรงจุด ไม่ส่งผลกระทบระยะยาว เช่น มีสารเคมีตกค้าง ร่างกายดื้อยา จนทำให้ต้องรักษาหัวเข่าอักเสบ กินยาแก้อักเสบข้อเข่า หรือ ทายาแก้อักเสบเข่า ไปตลอดชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อให้โรคข้อเข่าอักเสบของคุณ หายเป็นปกติ และ สามารถกลับมามีหัวเข่าที่แข็งแรง ได้ดังเดิมนั่นเอง
รู้เท่าทัน ยาแก้ข้อเข่าอักเสบ ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง
ยาแก้ข้อเข่าอักเสบ มีทั้งแบบรับประทาน และแบบใช้ภายนอก เช่น สเปรย์ ครีม น้ำมันนวด เป็นต้น โดยแพทย์จะจ่ายตามอาการ และ ระดับความรุนแรง ของข้อเข่าอักเสบ โดยยาแก้ข้อเข่าอักเสบ ที่นิยมใช้ในการรักษา ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มีดังนี้
1. กลุ่มยาต้านการอักเสบ ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
กลุ่มยาต้านการอักเสบ ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นกลุ่มยาที่นิยมใช้ เพื่อรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ หัวเข่าอักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวด และ อาการข้อเข่าอักเสบได้ดี แต่เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น เพราะหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นๆ ก็อาจจะใช้ยาบางตัวในกลุ่มนี้ไม่ได้ และ หากใช้ยาในกลุ่มนี้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจวายได้ด้วย สำหรับกลุ่มยาต้านการอักเสบ ไม่ใช่สเตียรอยด์ ที่นิยมใช้ เช่น
- ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยาแก้ข้อเข่าอักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวด อันเนื่องมาจากข้อเข่าอักเสบได้ ในระดับเล็กน้อย ถึง ปานกลาง วิธีรับประทาน คือ ต้องรับประทานหลังอาหารทันที และ ควรดื่มน้ำตามมากๆ เนื่องจากยาไอบูโปรเฟน อาจทำให้กระเพราะอาหารระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียนได้ ที่สำคัญผู้ป่วยโควิด-19 ก็ควรหลีกเลี่ยงยาไอบูโพรเฟน ตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศเตือนด้วย
- ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ยาแก้เข่าอักเสบบวม และ อาการปวดตามข้อกระดูกเข่า เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยตัวยาจะเข้าไปยับยั้ง การสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่ทำให้ข้อเข่าอักเสบบวมนั่นเอง โดยยาตัวนี้ห้ามใช้กับ ผู้ที่ผ่าตัดหัวใจ หรือ ทำบายพาส แพ้ยาแอสไพริน เป็นโรคหอบหืด โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ
- ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาแก้ข้อเข่าอักเสบ ที่ช่วยลดฮอร์โมน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ รวมไปถึงใช้รักษาผู้ที่โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ข้อยึดติดด้วย ทั้งนี้สตรีมีครรภ์ และ ผู้ให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยานาพรอกเซน เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์
- ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ที่ช่วยลดฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ เช่นเดียวกับยานาพรอกเซน สามารถต้านการอักเสบ ลดอาการปวด บวม นอกจากนี้หากเป็นโรคหัวใจ หรือ ใช้ยาชนิดนี้ติดต่อกันนานเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหัวใจที่ร้ายแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. ยากลูโคซามีน (Glucosamine)
เป็นยาทางเลือกที่ใช้ในการรักษา อาการข้อเข่าอักเสบ เข่าบวม ข้อเข่าติดขัด ฝืด สาเหตุที่เราบอกว่า กลูโคซามีน เป็นยาทางเลือกในการรักษา ก็เพราะว่า ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ ถึงประสิทธิภาพของกลูโคซามีน ว่ารักษาหัวเข่าอักเสบได้จริงหรือไม่ จึงจัดอยู่ในกลุ่มยาทางเลือกเท่านั้น ไม่ใช่ยารักษาหลัก อีกทั้ง นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงรายงานผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลูโคซามีนว่า
“มีรายงานจาก วารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ได้เฝ้าระวังผู้ป่วย ที่ใช้กูลโคซามีน เพื่อหวังผลในการลดอาการข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ หลังรับประทานยากลูโคซามีน จะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และ เมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศที่มี การสั่งจ่ายยากลูโคซามีนจำนวนมาก ทั้งรูปแบบยา และ อาหารเสริม แม้ว่าที่ผ่านมา จะไม่มีผลการพิสูจน์ว่า กลูโคซามีนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแค่ไหน แต่ก็มีการใช้ไปเพราะเห็นว่าไม่มีโทษ แต่หลังจากมีการรายงานผลข้างเคียง ของกลูโคซามีนที่ชัดเจน แพทย์ หรือ ผู้ป่วยจากนี้คงต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะต้อหิน จนตาบอดในที่สุด” (ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2015/07/10419)
3. ยาโคลชิซิน (Colchicine)
ยาโคลซิซิน เป็นยาแก้ข้อเข่าอักเสบ อันเนื่องมาจากโรคเก๊าท์ ซึ่งช่วยลดอาการปวดบวมได้ด้วย โดยตัวยา จะไปลดการก่อตัวของผลึก ที่เกิดจากกรดยูริค อันเป็นสาเหตุของการปวดนั่นเอง โดยยาโคลชิซินเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ เนื่องจากมีข้อห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
4. ครีม น้ำมัน หรือ สเปรย์แก้ข้อเข่าอักเสบ
ครีม น้ำมัน หรือ สเปรย์แก้ข้อเข่าอักเสบ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยแพทย์จะจ่ายยาใช้ภายนอก ให้ใช้คู่กับ ยาแก้ข้อเข่าอักเสบชนิดรับประทาน ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีส่วนผสมของตัวยาแก้ข้อเข่าอักเสบ เข้าไปรักษาได้จริง อาจมีเพียงแค่เมนทอล ยูคาลิปตัส หรือ แอลกอฮอล์ ที่ทำให้รู้สึกร้อน หรือ เย็น แล้วทำให้อาการปวดเข่าหายไปชั่วขณะ หรือ บางยี่ห้อผลิตออกมาพิเศษหน่อย ก็จะมีส่วนผสมของยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ที่อยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ผสมอยู่เล็กน้อย
ข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง กินยามานาน อยากเลิก เปลี่ยนไปฉีดยาได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่มี อาการข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง มักจะมีโรคเกี่ยวกับเข่าอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำไขข้อแห้ง กระดูกเข่าเสื่อม ซึ่งหลายคนอาจมีคำถามสงสัยว่า กินยารักษามานาน แต่อาการยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร อยากจะเลิกกินยาแก้ข้อเข่าอักเสบ แล้วเปลี่ยนไปฉีดยาแทนจะได้ไหม? คำตอบก็คือ “ได้” แต่ต้องขึ้นอยู่กับระดับอาการ และ ดุลยพินิจของแพทย์ โดยหลักๆ แล้ว ยาที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วย จะมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
1. กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid)
การฉีดกรดไฮยาลูรอนิค หรือ น้ำไขข้อเทียม เป็นการรักษาอาการน้ำไขข้อแห้ง จากการที่เข่าอักเสบมานาน โดยแพทย์จะทำการฉีดกรดไฮยาลูรอนิคเข้าไป บริเวณช่องว่างของผิวข้อเข่า เพื่อช่วยลดอาการเข่าอักเสบบวม ปวดได้ แต่การฉีดกรดไฮยาลูรอนิค จำเป็นต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 5 สัปดาห์ และ ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี เท่านั้น หลังฉีดอาจมีอาการปวด บวม แดง และ ต้องพักการใช้งานเข่าประมาณ 2 – 3 วัน
2. ฉีดเกล็ดเลือด (Platelet Rich Plasma)
การฉีดเกล็ดเลือด หรือ การปั่นเลือด คือ การนำเลือดของผู้ป่วยไปปั่น แล้วแยกคัดเอาเกล็ดเลือด และ สารช่วยสร้างเนื้อเยื่อ โดยทำให้มีความเข้มข้นสูงกว่าเกล็ดเลือดทั่วไป 3 – 4 เท่า เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว เกล็ดเลือดจะไปทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รักษาอาการอักเสบ และ บรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ หลังฉีดไปแล้วจะรู้สึกชาบริเวณที่ฉีด ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และ อาจปวดเข่า 1 – 2 วัน ซึ่งการรักษาหัวเข่าอักเสบ ด้วยการฉีดเกล็ดเลือด มีค่าใช้จ่ายสูง และยังไม่มีการวิจัยที่แน่ชัดว่า สามารถรักษาน้ำไขข้อแห้งได้จริง แพทย์จึงไม่นิยมมาใช้ในการรักษา
3. ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นยาที่ช่วยลดอาการข้อเข่าอักเสบ และ บรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ 1 ครั้ง ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้แค่ 1 – 3 เดือน เท่านั้น เป็นการฉีดยาเสริม เพื่อช่วยลดการอักเสบ ไม่ใช้เป็นการฉีดยาเพื่อรักษาในแนวทางหลัก
กินยาสมุนไพรรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ แทนยาแพทย์แผนปัจจุบันได้ไหม
หลายคนอาจมีคำถามในใจ แต่ไม่รู้จะถามใครดีว่า “กินยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ แทนยาแพทย์แผนปัจจุบันได้ไหม” เพราะไม่อยากกินยาเคมีนานๆ กลัวสารตกค้างในร่างกาย และ การดื้อยาภายหลัง เราตอบตรงนี้เลยว่า “สามารถทานได้” เพราะปัจจุบันยาสมุนไพรรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ ของหลายๆ แบรนด์ มีผลวิจัยประสิทธิภาพการรักษา และ มี อย. รองรับเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะยาสมุนไพรรักษาข้อเข่าอักเสบ จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ 3 ตัวยานี้ ที่เป็นยาแก้อักเสบเข่าประสิทธิภาพสูง รักษาได้จริง เห็นผล ลงลึกถึงกลไกอย่างตรงจุด และ ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในร่างกาย เนื่องจากสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100%
1. ยากษัยเส้น
ยากษัยเส้น เป็นยาแก้ข้อเข่าอักเสบ สามารถรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกเสื่อม โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น สามารถลดกระบวนการอักเสบ ได้อย่างลงลึกถึงกลไกภายใน ไม่เหมือนยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ NSIAD จึงไม่ต้องกังวลกับสารเคมีตกค้างในร่างกาย เพราะประกอบไปด้วยสารสกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น
- เถาวัลย์เปรียงแดงสกัด และ เถาวัลย์เปรียงขาวสกัด : ช่วยลดข้อเข่าอักเสบ เอ็นเข่าอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ชาปลายมือ ปลายเท้า
- โด่ไม่รู้ล้มสกัด : ช่วยรักษาเส้นเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ ช่วยสร้างน้ำไขข้อ ลดอาการหัวเข่าอักเสบได้ดีขึ้น
- ทองพันชั่งดอกเหลืองสกัด : ช่วยไล่ลมในเส้น อันเนื่องมาจากสาเหตุของการปวดและอักเสบ
- เถาโคคลานสกัด : ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบบวม เส้นเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ
โดยสารสกัดในยากษัยเส้น หมออรรถวุฒิ จะเข้าไปทำการรักษา และ ฟื้นฟูอาการข้อเข่าอักเสบ ได้อย่างลงลึกถึงภายใน เข้าถึงต้นเหตุของโรค
2. ยาตรีโลก
ยาตรีโลก เป็นยาสมุนไพรที่ทำหน้าที่ไล่ลมในร่างกายตามหลักแพทย์แผนไทย และช่วยฟื้นฟูเส้นประสาท ช่วยลดอาการปวดเข่า อันเนื่องมาจากหัวเข่าอักเสบ เส้นเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ อีกทั้งช่วยลดไขมันส่วนเกิน ลดการบวมน้ำ น้ำหนักตัวเบาขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมก็จะดีขึ้นด้วย ประกอบไปด้วยสารสกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด เช่น
- สารสกัดสมอทั้ง 5 (สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล)
- สารสกัดดอกคำฝอย
- สารสกัดดีปลี
- สารสกัดขิงแห้ง
- สารสกัดเจตมูลเพลิง
- สารสกัดกระวานเทศ
- สารสกัดทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง เป็นต้น
3. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)
เข่าอักเสบรักษาได้ด้วย “ไมรอทนาโนสเปรย์” สเปรย์สมุนไพร ที่ช่วยให้โรคข้อเข่าอักเสบดีขึ้น รวมไปถึงผู้ที่มีอาการเอ็นข้อเข่าอักเสบ ปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียว โดยศูนย์แพทย์แผนไทยหมออรรถวุฒิ ที่ร่วมมือกับนาโนเทค สวทช. วิจัยสเปรย์สมุนไพรนี้ขึ้นมา เป็นการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสกัดสมุนไพรมากถึง 7 ชนิด ได้แก่
- ไพรสกัด
- ขมิ้นชันสกัด
- ขิงสกัด
- ฝางสกัด
- โด่ไม่รู้ล้มสกัด
- พริกไทยดำสกัด
- เถาวัลย์เปรียงขาว และ แดงสกัด
โดยไมรอทนาโนสเปรย์ สามารถซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึกได้ง่าย ผ่านการวิจัยและการตรวจสอบประสิทธิภาพมาเรียบร้อยแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของ ไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% และยับยั้ง Cox2 , PGE , IL1 , TNF และ อนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อเข่าอักเสบ เข่าเสื่อม อย่างตรงจุด ครบทุกกลไกลึกถึงแก่น” หากใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สารสกัดจากไมรอทนาโนสเปรย์ จะไปยับยั้งกลไกการเสื่อม ชะลอเข่าเสื่อม ส่งผลให้การซ่อมแซมเซลล์ เติมเต็มตนเองตามธรรมชาติได้อีกด้วย
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่