รู้หรือไม่? การรักษาข้อเข่าเสื่อม ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

แชร์ได้เลยค่ะ

ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องการรักษาเข่าเสื่อม เราต้องรู้ก่อนว่าเข่าของเรา ประกอบไปด้วย กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และ กระดูกสะบ้า (Patella) โดยกระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้มีกระดูกอ่อนหุ้มไว้อยู่ ซึ่งมีชื่อว่า “กระดูกอ่อนผิวข้อ” (Articular cartilage) ซึ่งทำหน้าที่ลดการเสียดสีของกระดูก เวลาเราขยับเข่า แต่เมื่อไหร่ที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพลง เกิดการสะสมมากขึ้นก็จะทำให้เป็น “ข้อเข่าเสื่อม” (Knee Osteoarthritis) นั่นเอง

รักษาข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ต้องจบที่การผ่าตัดเสมอไป

กันไว้ดีกว่าแก้! รวมวิธีป้องกันไว้ก่อน ต้องรักษาข้อเข่าเสื่อม

กันไว้ดีกว่าแก้! รวมวิธีป้องกันไว้ก่อน ต้องรักษาข้อเข่าเสื่อม

เราสามารถป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่โรคจะถามหา เพื่อไม่ต้องรักษาข้อเข่าเสื่อมภายหลัง เพราะการป้องกัน ย่อมง่ายกว่า การรักษา จริงไหมล่ะ? โดยวิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม มีดังต่อไปนี้

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียม มีโอเมก้า 3 เบต้าแคโรทีน วิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น นม นมถั่วเหลือง งาดำ อัลมอนด์ ปลาแซลมอน ฟักทอง แครอท ข้าวโพด มะเขือเทศ เพราะอาหารบำรุงเข่าเหล่านี้ จะทำให้กระดูกเข่าแข็งแรง และ รักษาข้อเข่าเสื่อมได้

2. รับประทานสมุนไพรไทย ที่มีส่วนช่วยบำรุงข้อเข่า เพราะมีส่วนช่วยป้องกัน และ รักษาข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น ขิง ขมิ้น เป็นต้น

3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะหากน้ำหนักเยอะเกินไป จะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป เกิดอาการปวดหัวเข่า เนื่องจากน้ำหนักมีผลต่อโรคเกี่ยวกับข้อเข่า มากถึง 50%

4. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่ใช้แรงจากหัวเข่า เช่น วิ่ง บาสเกตบอล ฟุตบอล เทนนิส เป็นต้น

5. ออกกำลังกายข้อเข่าอย่างถูกวิธี เช่น นั่งหลังชิดกับเก้าอี้ แล้วเหยียดขาข้างหนึ่งออกมาให้ตรง จากนั้นเกร็งขาค้างไว้ 10 วินาที แล้วทำสลับข้างไปเรื่อยๆ เป็นต้น

6. หลีกหลี่ยงการยกของหนัก เพราะจะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักมากขึ้นไป เกิดการปวดหัวเข่าและสะสมจนเกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมได้

7. ระมัดระวังการเปลี่ยนท่าทาง ระหว่างนั่ง ยืน หรือ พลิกตัว พยายามอย่ายืนขึ้นจากที่นั่งอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้เกิดการยืด และ หดตัว ของกระดูกอย่างกะทันหัน

8. ไม่นั่งคุกเข่า นั่งยอง หรือ นั่งพับเพียบ เป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เส้นยึด หรือ ข้อยึดได้ หากจำเป็นต้องนั่งกับพื้นนาน ควรหาเบาะมารองนั่ง และ เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การนั่งบนเก้าอี้นั่นเอง

9. ไม่ใส่ส้นสูงเป็นเวลานานๆ เพราะส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย

10. จัดบ้านให้โล่ง อย่าให้มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

ต้องรู้! ข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ

ต้องรู้ ข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ

ก่อนทำการรักษาข้อเข่าเสื่อม เราต้องรู้ก่อนว่า อาการเข่าเสื่อมของเรา อยู่ในระยะไหน โดยข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 (ระยะเริ่มต้น) : เป็นช่วงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า สูญเสียไปบ้างเล็กน้อย แต่เข่าสามารถใช้งานได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว เพราะจะแค่รู้สึกปวดหัวเข่าบ้าง ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายที่สุด สามารถรับประทานอาหารบำรุงเข่า รับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเคมี
  • ระยะที่ 2 (ข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อน และ บางลง กระดูกที่งอกออกมาเป็นปุ่ม รู้สึกปวดข้อเข่า ข้อเข่าฝืดติดขัดบ้าง เริ่มมีเสียงในกระดูกเวลาขยับเข่าบ้าง แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายอยู่
  • ระยะที่ 3 (ข้อเข่าเสื่อมปานกลาง) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และ สึกกร่อนมาก ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่า เริ่มแคบลง กระดูกข้อเข่ามีเสียดสีกันจนอักเสบ ทำให้ข้อฝืดแข็ง และ มีเข่าบวม ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวเข่ามาก เดินได้ไม่คล่องตัว มีเสียงในข้อเข่าขณะเดินด้วย เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้อยู่ แต่ต้องใช้ระยะเวลารักษานานพอสมควร
  • ระยะที่ 4 (ข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อน เกิน 60% กระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ มีขนาดใหญ่ขึ้น อาการปวดเข่า เสียงในเข่า ข้อเข่าติดขัดจะแสดงชัดเจน มากกว่าระยะที่ 3 จนถึงขั้นกระดูกข้อเข่าชิดติดกัน ทำให้รู้สึกปวดหัวเข่ามาก ข้อเข่าเกิดการผิดรูปด้วย ไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องตัว หรือ บางคนอาจไม่สามารถเดินได้เลย ซึ่งเป็นระยะที่รักษาข้อเข่าเสื่อมได้ยากที่สุด อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดร่วมด้วย
เช็คอาการปวดหัวเข่า เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมหรือไม่?
ปวดหัวเข่าทุกครั้งที่ก้าวขาหรือเวลาขึ้น – ลงบันได 
เจ็บแปล๊บหรือเสียวข้อเข่า
เสียงดังในข้อเข่า
ลุก - ยืนลำบาก
ปวดหัวเข่าจนนอนไม่หลับ 
ปวดหัวเข่าจนบวม แดง แสบ ร้อน มีไข้ขึ้นสูง
ไม่สามารถเหยียดขาตรงหรืองอเข่าได้
รู้สึกชาหรืออ่อนแรงขณะเดิน
กล้ามเนื้อต้นขาลีบ
เท้าเปลี่ยนสีขณะเดินติดต่อกันนานๆ

กลไกการเสื่อมของข้อเข่า ที่หลายคนไม่เคยรู้ เข้าใจลึก ยิ่งได้เปรียบ

ข้อเข่ามีการพับ บิด งอ อ้วน หรือ ใช้งานหนักเป็นประจำ
ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการอักเสบ ปวด เจ็บ ตึง
เข่าเสื่อมสามารถเกิดจุดไหนก็ได้ รอบๆ ข้อเข่า
หากเกิดอาการปวดซ้ำๆ การอักเสบก็เกิดซ้ำๆ
กระบวนการอักเสบ มีการหลั่งสาร COX2, IL1 , TNF, PGE,อนุมูลอิสระ ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำไขข้อด้วย
ในช่วงแรกที่เกิด หรืออายุยังไม่มาก ส่วนใหญ่มักจะไม่ถึงขั้นข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น การเจ็บเข่าบ่อยๆ อาจไม่ใช่ข้อเข่าเสื่อมเสมอไป ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัย 
หากปวดหัวเข่า ข้อเข่าอักเสบบ่อย หรือถี่มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อน้ำไขข้อลดลงเรื่อยๆ และการเหนี่ยวนำทำลายตัว ของผิวกระดูกอ่อน
เมื่ออายุมากขึ้น จึงมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
การเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน เซลล์ไขข้อ เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอักเสบทวีคูณ ในบางคนจึงเกิดเข่าบวมน้ำ จับดูแล้วเป็นถุงน้ำนิ่มๆ 
เป็นวงจรต่อเนื่อง น้ำไขข้อแห้งลง ผิวกระดูกอ่อนเสียดสี เสื่อมไปเรื่อยๆ
  • ข้อเข่ามีการพับ บิด งอ อ้วน หรือ ใช้งานหนักเป็นประจำ
  • ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการอักเสบ ปวด เจ็บ ตึง
  • เข่าเสื่อมสามารถเกิดจุดไหนก็ได้ รอบๆ ข้อเข่า
  • หากเกิดอาการปวดซ้ำๆ การอักเสบก็เกิดซ้ำๆ
  • กระบวนการอักเสบ มีการหลั่งสาร COX2, IL1 , TNF, PGE,อนุมูลอิสระ ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำไขข้อด้วย
  • ในช่วงแรกที่เกิด หรืออายุยังไม่มาก ส่วนใหญ่มักจะไม่ถึงขั้นข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น การเจ็บเข่าบ่อยๆ อาจไม่ใช่ข้อเข่าเสื่อมเสมอไป ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัย
  • หากปวดหัวเข่า ข้อเข่าอักเสบบ่อย หรือถี่มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อน้ำไขข้อลดลงเรื่อยๆ และการเหนี่ยวนำทำลายตัว ของผิวกระดูกอ่อน
  • เมื่ออายุมากขึ้น จึงมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  • การเสื่อมของผิวกระดูกอ่อน เซลล์ไขข้อ เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอักเสบทวีคูณ ในบางคนจึงเกิดเข่าบวมน้ำ จับดูแล้วเป็นถุงน้ำนิ่มๆ 
  • เป็นวงจรต่อเนื่อง น้ำไขข้อแห้งลง ผิวกระดูกอ่อนเสียดสี เสื่อมไปเรื่อยๆ

รักษาข้อเข่าเสื่อม ทำได้หลายวิธี ไม่ต้องผ่าตัดเสมอไป

วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และ แพทย์แผนไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องจบด้วยการผ่าตัดเสมอไปด้วย โดยวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมแต่ละวิธีนั้น ขึ้นอยู่กับระยะอาการข้อเข่าเสื่อม ของแต่ละบุคคลนั่นเอง

1. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการรับประทานยาแพทย์แผนปัจจุบัน

รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการรับประทานยาแพทย์แผนปัจจุบัน

การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เช่น

  • พาราเซตามอล (Paracetamol) ใช้บรรเทาอาการปวดหัวเข่า กรณีที่ปวดหัวเข่าไม่มาก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการลดการอักเสบ
  • นาพรอกเซน (Naproxen) เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีกลไกการออกฤทธิ์ เพื่อยับยั้ง COX2
  • ช่วยลดอาการปวด ระดับเล็กน้อย ถึง ปานกลาง และลดการอักเสบได้
  • กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate) เป็นยาที่ช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม บรรเทาอาการปวด บวม และ ข้อฝืด รวมไปถึงชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้ด้วย แต่มีรายงานจาก วารสารสมาคมแพทย์สหรัฐ ทางจักษุวิทยา (JAMA) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ที่ได้เฝ้าระวังผู้ป่วย ที่ใช้กูลโคซามีน เพื่อหวังผลในการลดอาการข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่า “ผู้ป่วยกลุ่มนี้ หลังรับประทานยากลูโคซามีน จะมีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างชัดเจน และ เมื่อหยุดกินความดันก็จะลดลง ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการสั่งจ่ายยากลูโคซามีนจำนวนมาก ทั้งรูปแบบยา และ อาหารเสริม แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีผลการพิสูจน์ว่า กลูโคซามีนมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแค่ไหน แต่ก็มีการใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่มีโทษ แต่หลังจากมีการรายงานผลข้างเคียง ของกลูโคซามีนที่ชัดเจน แพทย์ หรือ ผู้ป่วยจากนี้คงต้องระวัง เพราะจะทำให้สายตาเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง จากภาวะต้อหินจนตาบอดในที่สุด”(ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2015/07/10419)
  • ยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด บวม หรือ อักเสบต่างๆ รวมไปถึงใช้รักษาข้อเข่าเสื่อม โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ฯลฯ โดยยับยั้งที่ COX2
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ของผู้ที่มีอาการเกร็ง หรือ ตึงข้อเข่า เพื่อใช้ในการคลายกล้ามเนื้อ

จะเห็นได้ว่ากลุ่มยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยับยั้งที่ COX2 เพียงอย่างเดียว กลไกการเสื่อม อักเสบจึงยังดำเนินต่อไป จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมกินยากลุ่มนี้นานๆ แล้ว ถึงยังไม่หายปวดหัวเข่า ทั้งนี้การรับประทานยาแก้ปวดข้อเข่าแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม จำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการรักษา แต่หากรับประทานนานๆ จะมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะ ตับไต ระบบหัวใจ ความดัน หลอดเลือด เป็นต้น

2. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดยา

รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดยา

การรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดยา เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหัวเข่า หรือ เป็นข้อเข่าเสื่อมอย่างหนัก ซึ่งยาที่ใช้ฉีดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม มีอยู่หลายตัว เช่น

  • กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) หรือ น้ำข้อเทียม เป็นการฉีดน้ำหล่อลื่น เข้าบริเวณช่องว่างของผิวข้อเข่า ซึ่งน้ำข้อเข่าเทียมนี้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสาร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในเนื้อเยื่อของเข่านั่นเอง ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพในการลดการเสียดสี ทำให้ผู้ป่วยขยับเข่าได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมไปถึงลดอาการปวด บวม อักเสบได้ด้วย ทั้งนี้จำเป็นต้องฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 5 สัปดาห์ และ ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยแพทย์เฉพาะทางส่วนใหญ่ มักไม่พิจารณาฉีด เนื่องจากพบว่า ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัด และ อาจไม่เกิดประโยชน์ เท่ากับการบริหารกล้ามเนื้อ
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ที่ช่วยลดการอักเสบของข้อเข่า เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวด และ อักเสบตามข้อ ซึ่งการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ 1 ครั้ง ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน เภสัชกรแนะนำว่าไม่ควรฉีดเกิน 1 ครั้งในชีวิต เนื่องจากคอติโคสเตียรอย มีฤทธิ์ไปกดไขกระดูก ยิ่งทำให้เสื่อม และ ไม่สร้างซ่อมแซมตนเองอีกด้วย
  • ฉีดเกล็ดเลือด (PRP) เป็นการฉีดเกล็ดเลือดหนาแน่น ที่ได้มาจากเลือดของผู้ป่วย เมื่อฉีดเข้าไปแล้วเกล็ดเลือดจะไปทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อนั่นเอง เหมาะกับการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะแรกมากที่สุด แต่แพทย์เฉพาะทางส่วนใหญ่ มักไม่พิจารณาวิธีนี้ เนื่องจากพบว่า ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัด และอาจไม่เกิดประโยชน์ เท่ากับการบริหารกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนัก ปรับพฤติกรรม

ทั้งนี้การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดยา เป็นการรักษาที่เสี่ยงต่อสารเคมีตกค้างในร่างกายสูง และ บางครั้งหากร่างกายเกิดอาการดื้อยา การฉีดยาก็อาจไม่มีประสิทธิภาพ ในการรักษาผู้ป่วยรายนั้นอีกต่อไป ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างรอบคอบมากที่สุด

3. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการทำกายภาพบำบัด

รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการทำกายภาพบำบัด

หากรู้สึกปวดหัวเข่า หรือ เดินลำบาก ขึ้นมาเมื่อไหร่ การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ที่ทุกคนสามารถทำได้ แม้ไม่ได้เป็นข้อเข่าเสื่อมก็ตาม โดยการทำกายภาพบำบัดนี้ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ และ กระดูกแข็งแรงได้ แข็งแรงขึ้นหลายจุด ทั้งหัวเข่า กล้ามเนื้อขา ทั้งบน และ ล่าง รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังด้วย ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัด ในผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ และ นักกายภาพบำบัดก่อน เพื่อให้การกายภาพบำบัด เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เพราะบางคนอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อนั่นเอง

4. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัด

รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัด

การรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย รับประทานยาแก้ปวดข้อเข่า หรือ ยาใดๆ แล้วไม่เป็นผล โดยการผ่าตัดมีหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ เช่น

  • การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า (Arthroscopic Surgery) คือ การผ่าตัด โดยใช้กล้องขนาดเล็กเจาะ และ สอดเข้าไป เมื่อกล้องถูกสอดเข้าไปแล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัด โดยดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์ ข้อดีก็คือ แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กมาก ไม่ถึง 1 ซม. จึงทำให้แผลหายไว สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งโอกาสการติดเชื้อ บวม เลือดคั่งในข้อ ยังน้อยกว่าการผ่าตัดชนิดอื่นๆ นอกจากใช้รักษาข้อเข่าเสื่อมได้แล้ว ยังสามารถใช้รักษาผู้ป่วย ที่เป็นหมอนรองกระดูกฉีกขาด มีปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองเข่า กระดูกอ่อนแตกในข้อเข่า เอ็นไขว้หน้า หรือ เอ็นไขว้หลังฉีกขาด ผิวกระดูกอ่อนเป็นขุย ต้องการตัดพังผืดในเข่า ชำระล้างข้อเข่า ดูดเศษเนื้อเยื่อในเข่าออกได้อีกด้วย
  • การผ่าตัดปรับแนวข้อเข่า (High Tibial Osteotomy) เป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อม ที่เหมาะกับผู้ที่มีข้อเข่าโก่งแต่ยังไม่มาก แต่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์นําวิถี (Navigation Assisted Surgery) เข้ามาช่วยในการผ่าตัดปรับแนวข้อเข่า ให้มีการกระจายข้อน้ำหนัก ให้เท่ากันทุกส่วน
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อ ที่เสื่อมสภาพออกให้หมด แล้วใส่ผิวข้อใหม่ ซึ่งผิวข้อใหม่ที่ใช้ เป็นวัสดุพิเศษทางการแพทย์ นอกจากใส่ผิวข้อใหม่แล้วยังมีการทำให้ความตึง หรือ หย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ให้เป็นปกติด้วย ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนี้ สามารถอยู่ได้นานถึง 20 ปีเลยทีเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมระยะที่ 3 – 4

5. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการรับประทานอาหารเสริม

รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการรับประทานอาหารเสริม

เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมระยะแรก มีอาการปวดหัวเข่า แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต เพราะการรับประทานอาหารเสริม เป็นการรับประทานเพื่อบำรุงข้อเข่ามากกว่า โดยอาหารเสริมจะมี สารกลูโคซามีน และ คอนดรอยติน (Glucosamine and Chondroitin) ที่ช่วยบำรุงข้อเข่า แก้ปวดหัวเข่า และ ป้องกันเข่าเสื่อมได้

6. รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยแพทย์แผนไทย

รักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยแพทย์แผนไทย

อีกหนึ่งแนวทางการรักษาที่เห็นผลชัดเจน และ เป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบัน ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น

  • รับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า และ รักษาข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่มีส่วนผสมของ เถาวัลย์เปรียง กำแพงเจ็ดชั้น แก่นฝาง กำลังวัวเถลิง สมอดีงู สมอทะเล สมอไทย สมอพิเภก เป็นต้น เพราะสมุนไพรเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูข้อ กระดูก เส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อจากภายใน เป็นการแก้จากต้นเหตุให้ดีขึ้น และ แข็งแรงอย่างยั่งยืน โดยเราควรเลือกสมุนไพรแก้ปวดเข่า ที่ไม่มีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบัน เป็นสารสกัดจากพืชสมุนธรรมชาติ 100%
  • ยาสมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน สเปรย์ ครีม เป็นต้น โดยเราแนะนำให้เลือกตัวยา ที่ซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ เพื่อการซึมเข้าสู่ผิวข้อเข่าได้อย่างรวดเร็ว และ ลงลึกมากที่สุด

อยากรักษาข้อเข่าเสื่อม แบบปลอดภัย ทำอย่างไรดี?

หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่กำลังประสบปัญหาข้อเข่าเสื่อม และ ต้องการการรักษา ที่ปลอดภัยที่สุด เราแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยแพทย์แผนไทย เนื่องจากไม่ต้องเสี่ยงกับการรับประทานยา แล้วมีสารเคมีตกค้างในร่างกาย ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัด แล้วเกิดแผลติดเชื้อภายหลังด้วย โดยหนึ่งในผู้ผลิตยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า และ รักษาข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะ ที่ได้รับความไว้วางใจ มายาวนานกว่า 30 ปี อย่าง “ศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ” เป็นหนึ่งในทางเลือก ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในปัจจุบัน ซึ่งเราขอแนะนำ ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า และ รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ใช้ภายนอก และ ภายใน ให้ทุกคนรู้จักกัน เผื่อเป็นทางเลือกในการรักษา ให้กับผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมอยู่ ดังนี้

1. ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)

Mirott Nano Spray 
นวัตกรรมนาโนสเปรย์ใหม่ล่าสุดของไทย
ลิขสิทธิ์เฉพาะเพียงหนึ่งเดียว
รักษาข้อเข่าเสื่อม
แก้ปวดเข่า คอ หลัง บ่า ไหล่
ลุก เดิน ยืน วิ่งได้สะดวก

“ไมรอทนาโนสเปรย์”สเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเข่า เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก และ ต้องบอกเลยว่า นี่คือ นวัตกรรมยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า สำหรับใช้ภายนอก ใหม่ล่าสุด ของประเทศไทยสามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมได้จริง เพราะผ่านการวิจัย และ การตรวจสอบประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน Diclofenac แล้วพบว่า “ตัวอนุภาคนาโนของ ไมรอทนาโนสเปรย์ มีความสามารถในการยับยั้งการอักเสบ ได้มากกว่า Diclofenac ถึง 80% สามารถต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหัวเข่า เข่าอักเสบ และ เข่าเสื่อม ได้มากถึง 80% อีกด้วย” ซึ่งเป็นการพัฒนาอนุภาคนาโน NANOPi การกักเก็บสารสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ พัฒนาโดย สวทช. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ไมรอทนาโนสเปรย์ (Mirott Nano Spray)
สเปรย์รักษาข้อเข่าเสื่อม ซึมลึกผ่านผิว ส่งตัวยาเข้ารักษาตรงจุดที่ใช้  ไม่ต้องรับผลเสียจากยากินแก้ปวด
สารสกัดจากสมุนไพรกว่า 7 ชนิด เช่น ไพล ขิง ขมิ้นชัน ฝาง เถาวัลย์เปรียง ฯลฯ  
มีงานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ

โดยไมรอทนาโนเปรย์ มีส่วนประกอบเป็นสารสกัดจากสมุนไพรกว่า 7 ชนิด เช่น ไพล ขิง ขมิ้นชัน ฝาง เถาวัลย์เปรียง ฯลฯ ที่มีงานวิจัยฤทธิ์ ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ มาพัฒนาเป็นอนุภาคนาโน NANOPi ใช้ภายนอก ซึมลึกผ่านผิว ส่งตัวยาเข้ารักษาตรงจุดที่ใช้ โดยไม่ต้องรับผลเสียจากยากินแก้ปวด              

นอกจากประสิทธิภาพ ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้แล้ว ยังสามารถรักษาอาการปวดเข่าเรื้อรัง ข้อเข่าอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เอว รวมไปถึงชะลอความเสื่อมของเข่า ได้อีกด้วย

2. ยากษัยเส้น และ ยาตรีโลก

คู่หูกู้เข่าเสื่อม ปวดหัวเข่าจนก้าวขาลำบาก ต้องฟื้นฟูอย่างลงลึก! สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% ลิขสิทธิ์เฉพาะโดยหมออรรถวุฒิ

ยากษัยเส้น และ ยาตรีโลก ของศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ คือ สองตัวยาคู่หู ที่เป็นสมุนไพรแก้ปวดเข่า และ รักษาข้อเข่าเสื่อม ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เพราะมีประสิทธิภาพในการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้จริง รวมไปถึงแก้ปวดหัวเข่า ปวดข้อ ปวดกระดูก เส้นเอ็นอักเสบ กระดูกทับเส้น ข้อเสื่อม เข่าอักเสบ และ หมอนรองกระดูกเสื่อม ความดีงามของสองตัวยานี้ เมื่อทานคู่กันแล้วจะยิ่งช่วยฟื้นฟูอย่างลงลึก และ ไม่กลับมาเจ็บ หรือ ปวดหัวเข่าซ้ำอีกแน่นอน

โดยสารสกัดจากสมุนไพร สูตรของหมออรรถวุฒิ เป็นสูตรตำรับที่ลงตัว ครบถ้วน สกัดบริสุทธิ์ ไม่ใช้ตัวทำละลายเคมี ทำให้ได้ผลในการรักษาที่ดี ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ล้างพิษของเสียต่างๆ ทำให้ ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดี ต่อไปตามธรรมชาติ

ยาสมุนไพรรักษาข้อเข่าเสื่อม หมออรรถวุฒิ
สูตรตำรับที่ลงตัว ครบถ้วน สกัดบริสุทธิ์ 
ไม่ใช้ตัวทำละลายเคมี ทำให้ได้ผลในการรักษาที่ดี ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง 
ยับยั้งกลไกการอักเสบ ลึก ละเอียด ส่งเสริมกันทุกกลไก COX2 , IL1 , TNF, PGE, อนุมูลอิสระ ฯลฯ 
กระตุ้นการไหลเวียนเลือด 
ล้างพิษของเสียต่างๆ 
ทำให้ ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดีต่อไปตามธรรมชาติ

และนี่คือ 3 ยาสมุนไพรแก้ปวดเข่า และ รักษาข้อเข่าเสื่อม ที่มีผลการวิจัยรองรับว่า สามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมได้จริง รวมไปถึงรักษาโรคเกี่ยวกับเข่าได้หลายอย่างอีกด้วย มีเสียงตอบรับจากผู้ใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มี อาการข้อเข่าเสื่อม รวมถึงผู้สูงวัยหลายท่าน ที่กลับมาเดินได้ โดยไม่ต้องรู้สึกเป็นภาระของลูกหลาน และที่สำคัญ ทำให้รู้ว่าการเป็นข้อเข่าเสื่อม ไม่จำเป็นต้องจบที่การรักษา ด้วยการผ่าตัดเสมอไป สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ
Shopping Cart
Scroll to Top